การให้การปรึกษาอย่างมีคุณภาพ
บทคัดย่อ
ผลกระทบทางด้านสังคม อารมณ์ จิตใจของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอดส์ ในระยะแรกที่โรคเอดส์ ระบาดเข้ามาในประเทศไทย มีความรุนแรงถุงขั้นฆ่าตัวตายจำนวนมาก เนื่องจากไม่มียารักษาโรคการช่วยเหลือเยียวยาทางด้านจิตใจด้วยกระบวนการให้การปรึกษา สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอดส์ต่อสู่กับอารมณ์ความรู้สึกทุกข์ วิตกกังวลของตนเองอย่างเข้าใจและยอมรับสามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขได้ บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ จึงได้รับการอบรม เรื่อง การให้การปรึกษาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากในระยะเวลาสั้นเพียง 3-5 วัน ส่วนใหญ่เน้นการเรียนในห้องเรียนไม่มีการฝึกทักษะการปฏิบัติงานจริง จึงมักเป็นการพูดคุยกับผู้มีปัญหาเพื่อปลอบใจ ให้ข้อมูล ให้คำแนะนำ ชักจูงหว่านล้อม ให้มีความคิดความเชื่อ และเลือกตัดสินใจตามผู้ทำหน้าที่ให้บริการปรึกษา ปัญหาจึงยังค้างคาใจอยู่ ไม่สามารถแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้รับการปรึกษาบางรายกลับมีอารมณ์ ความรู้สึกเลวร้ายมากขึ้นถึงขั้นฆ่าตัวตายก็มี
การให้การปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ
ผู้ทำหน้าที่ให้การปรึกษา จะต้องเรียนรู้และฝึกให้รู้จักและเข้าใจตนเองก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรู้จักและเข้าใจผู้อื่น จึงจะสามารถนำแนวคิด หลักการ และเทคนิคต่างๆ ในการให้การปรึกษาแก่ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอดส์โดยมีองค์ความรู้ทีเกี่ยวข้อง เช่น การให้การปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์ให้กินยาต้านไวรัสเอดส์อย่างครบถ้วนต่อเนื่อง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ คุณและโทษของยาต้านไวรัสเอดส์ สูตรยา ผลข้างเคียงของยา เป็นต้น
การฝึกฝน การประเมินตนเอง และได้รับการนิเทศ (Supervise) จากผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ในด้านความคิด อารมณ์ จิตใจ และความรู้สึกให้มีความพร้อมในการรับรู้เข้าใจและติดตามเข้าถึงผู้รับบริการได้ชัดเจน โดยใช้ทักษะและกระบวนการให้การปรึกษาอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น เข้าใจคำพูดและภาษาท่าทางที่ติดต่อสื่อสารกัน สามารถเผชิญปัญหาและรับอารมณ์ของผู้รับบริการได้อย่างสงบ รู้จังหวะในการพูดคุย (Response) และเตรียมคิดหาแนวทางโดยเปิดประเด็นพูดคุยถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการเรียนรู้วิธีคิด วิธีเปลี่ยนแปลงความคิด สามารถปรับความคิด ความรู้สึก และตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา
1.ช่วยให้ผู้รับการปรึกษายอมรับและเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาของตนเอง พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขตนเองก่อน
2.มองเห็นประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้อง เรียนรู้การติดต่อสื่อสาร และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
- มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนและสามารถแก้ไข ป้องกัน ปัญหาได้ด้วย
ตนเอง
คุณสมบัติสำคัญของผู้ให้การปรึกษามีความตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
- มีความตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง
- มีคุณธรรม รู้จักเดินทางสายกลาง รู้จักการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ
- ไวต่อการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก คำพูด ภาษาท่าทาง ทำให้รู้จักจุดอ่อนจุดแข็งในการจัดการปัญหาของ
ผู้รับคำปรึกษา
- เปิดใจกว้าง จริงใจ พร้อมที่จะรับฟัง ยอมรับไม่ว่าผู้รับการปรึกษาจะเป็นอย่างไร ไม่ยึดติดกับตัวเอง จะ
ช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยดี
- มีความรักในเพื่อนมนุษย์ และพร้อมที่จะช่วยเหลือ
- มีการบันทึก Case ต่อเนื่อง และบันทึกสิ่งต่างๆ ที่เป็นข้อดี – ข้อเสีย สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
และสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อทบทวน เรียนรู้ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้
- มีความสามารถในการให้การปรึกษาที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากการทบทวน ประมวลผลแต่ละรายที่ให้การ
ปรึกษามีจุดบกพร่องหรือสิ่งดีๆ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และแก้ไขอย่างไร เป็นการพูดคุยกับผู้รับการปรึกษาอย่างมีขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยเทคนิคและทักษะในการพูดคุยเคลื่อนไหวไปตามลำดับขั้นอย่างเป็นธรรมชาติ
References
ทิพาพร อัปสรธนะสมบัติ การให้การปรึกษาแก่ผู้ป่วยสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์ ; 2546: 1-48.
ทิพาวดี เอมะวรรธณะ การให้การปรึกษาสู่มืออาชีพ. 2546 เอกสารอัดสำเนา
จีน แบรี่ Death and Dying Counseling. 2547. เอกสารอัดสำเนา