ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • นวลอนงค์ ลือกำลัง

คำสำคัญ:

ภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสเลือด, เสพสิส, เสพสิสรุนแรง, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอัตราตาย

บทคัดย่อ

              ความเป็นมา: การติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นภาวการณ์ติดเชื้อที่รุนแรง โรงพยาบาลลำพูนมีผู้ป่วยติดเชื้อเสียชีวิตในอัตราสูงกว่าผู้ป่วยอายุกรรมประเภทอื่น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาลลำพูน และลักษณะที่เพิ่มอัตราตายของผู้ป่วย รูปแบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลลำพูน วิธีการ: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2547 รวบรวมลักษณะทั่วไป ลักษณะทางคลินิก ผลการรักษา(ตาย/รอด) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะที่ศึกษาระหว่างผู้ป่วยที่เสียชีวิตและผู้ป่วยที่รอดชีวิตด้วยการทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงสัมพัทธ์ แสดงด้วยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์และช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: ในช่วงเวลาที่ศึกษารวบรวมผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ 355 ราย อัตราส่วนหญิงต่อชายประมาณ 1:1.1 เป็นผู้ป่วยอายรุกรรมร้อยละ 90.7 ส่วนใหญ่อายุ 46 ปีขึ้นไป มีประวัติโรคประจำตัวอยู่เดิม ร้อยละ 78.0 ความรุนแรงของการติดเชื้อได้พบทั้ง 3 ระดับ คือ sepsis ร้อยละ 25.4 severe sepsis ร้อยละ 22.3 และ septic shock ร้อยละ 52.3 ผู้ป่วยได้รับการตรวจเพาะเชื้อร้อยละ 72.4 พบเชื้อ ร้อยละ 37.0 ตำแหน่งติดเชื้อที่พบมากคือ ระบบทางเดินปัสสาวะ ปอด/ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร มีอวัยวะล้มเหลว 1-5 อวัยวะร้อย 74.4 อัตราการเสียชีวิตโดยรวม ร้อยละ 47.9 ลักษณะที่เสี่ยงต่อการตายคือ ความรุนแรงของการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น จำนวนอวัยวะล้มเหลวที่เพิ่มขึ้น เพศชาย อายุมากว่า 75 ปี มีโรคประจำตัว ไตวายเรื้อรัง ตรวจไม่พบเชื้อที่เป็นสาเหตุ: ผู้ป่วยกลุ่มอาการเสพสิสในโรงพยาบาลลำพูนมีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้ป่วยเสพสิสโดยทั่วไป ไม่พบลักษณะเด่นเพิ่มเติมที่อาจช่วยประเมินพยากรณ์โรคได้ ดังนั้น ในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการเสพสิส ยังต้องวินิจฉัยภาวะ sepsis ให้ได้โดยเร็ว เพื่อให้การรักษาโดยเร็วที่สุด รวมทั้งต้องรักษาแบบประคับประคองในรายที่มีการทำงานของอวัยวะล้มเหลวให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น

References

Rice WT, Whocler PA. Severe sepsis. Intect Med 2003; 20:184-93

พรรณพิศ สุวรรณกุล.Sepsis- septicemia และ septic shock. ใน:วิทยา ศรีดามา บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ป่วยในรายที่มีปัญหา. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราอายุรศาสตร์.2538ซ153-64

Bone CR, Balk AB, Cerra BF, Dellinger RP, Fein MA, Knaus AW. Definition for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. Chest 1992; 101: 1644-55.

Angus CD, Linde-Zwirble TW, Lidicker J, in Clermont G, Carcillo J, Pinsky RM. Epidemi- ology of severe sepsis in the United States. Crit Care Med 2001; 27: 1303-9.

Holloway WJ. Management of sepsis in elderly. Am J Med 1986; 80: 143-8.

Wheeler AP, Gordon RB. Treating patients with severe sepsis. NEJM 1999; 340: 207-14.

Rangei-Franisto MS, Pittel D, Constigan M, et al. The natural history of the systemic inflammatory response syndrome (SIRS). A pro- spective study. JAMA 1995; 273: 117-23.

Vincent JL, de Mendonca A, Cantratine F, et al. Use of the SOFA score to assess the incidence of organ dysfunction/failure in pensive care units results of a multicenter, prospective study. Working Group on "Sepsis-Related Problems" of The European Society of Intensive Care Medicine. Crit Care Med 1998; 26: 1793-800.

อดิศร วงษา.Sepsis: supportive care. ใน: สมบัติ ลีลาสุภาศรี, สถาพร ธิติวิเชียรเลิศ, บรรณาธิการ. Current practice in common in factious disease. กรุงเทพมหานคร: สวิชาญการพิมพ์ 2544: 215-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป