ภาวะ Gastroschisis ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ประสบการณ์ 5 ปีในการผ่าตัดรักษา

ผู้แต่ง

  • สุรพล อริยานุกิจจา

คำสำคัญ:

แกสตรอสไคซิส, การผ่าตัดปิดหน้าท้องแบบขั้นตอนเดียว, การผ่าตัดปิดหน้าท้องแบบสองขั้นตอน, อัตราตาย

บทคัดย่อ

         ความเป็นมา: การผ่าตัดรักษาทารก Gastroschisis ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ทำทั้ง 2 วิธี คือ การผ่าตัดปิดหน้าท้องแบบขั้นตอนเดียว และการผ่าตัดปิดหน้าท้องแบบสองขั้นตอน โดยยังไม่ทราบปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค วัตถุประสงค์: เพื่อรายงานประสบการณ์การรักษาผู้ป่วย Gastroschisis ในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย  Gastroschisis วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Gastroschisis ระหว่างเดือน มกราคม 2543 – เดือน ธันวาคม 2547 รวม 27 ราย แบ่งเป็นรักษาผ่าตัดแบบขั้นตอนเดียว 14 ราย และแบบสองขั้นตอน 13 ราย ผลการศึกษา: การทำผ่าตัดในทารกแรกเกิดที่ภาวะ Gastroschisis จำนวน 27 ราย พบว่าทารกกลุ่มที่ผ่าตัดแบบขั้นตอนเดียว 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย (ร้อยละ 7) ส่วนทารกกลุ่มที่ผ่าตัดแบบสองขั้นตอน 13 ราย เสียชีวิต 6 ราย (ร้อยละ 46) พบอายุครรภ์เฉลี่ยในกลุ่มรอดชีวิตและเสียชีวิต เป็น 35 และ 33 สัปดาห์ ตามลำดับ ซึ่งทารกที่มีความพิการแต่กำเนิดร่วมพบว่ารอดชีวิต 1 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยอายุครรภ์น้อยและความพิการแต่กำเนิดร่วมเป็นปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การเลือกรักษาผู้ป่วย Gastroschisis ด้วยวิธีผ่าตัดแบบขั้นตอนเดียวเป็นการรักษาที่ได้ผลดี การพยากรณ์โรคที่เลวขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่น้อยและความพิการแต่กำเนิดร่วม

References

Cooney D.R. Defects of the Abdominal wall. In: O'Neill. J.A, Rowe M.l, Grosfeld J.L, Fonkalsrud E.W, Coran A.G. eds. Pediatric Surgery, 5th edition. Missouri: Mosby, 1998:1051-1066.

ศรีวงศ์ หะวานนท์, อนันต์ สุวัฒนวิโรจน์, สุขวัฒน์ วัฒนาธิษฐาน, ดุสิต วีระไวทยะ. Gastroschisis. ใน: ศรีวงศ์ หะวานนท์, ไพบูลย์ สุทฺวรรณ, วิศิษฎ์ ญิตวัฒน์, กัมพล ประจวบเหมาะ,โชติพานิชกุล, จตุพร หงส์ประภาส,ทองดี ชัยพานิช. บรรณาธิการ.ศัยลสาสตร์วิวัฒน์ 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กทม:ยูนิตี้พับลิเคชั่น, 2525:79-93.

ไพบูลย์ สุทธิวรรณ.กุมารศัลศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2536: 190-209.

Tunnel W.P. Omphalocele and Gastroschisis In: Ashcraft K.W., Holder T.M. eds. Pediatric Surgery, 2nd edition. Pennsylvania: W.B. Saunders Company, 1993: 546-556.

ศรีวงศ์ หะวานนท์, Omphalocele and Gastroschisis. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพมหานคร, 2532; 1-57.

Komuro H., lmaizumi S., Hirata A., Matsumoto M. Staged silo Repair of Gas troschisis with Preservation of the Umbilical cord, J pediatr Surg 1998; (33): 485-488.

Raffensperger J.G. Swenson's Pediatric Surgery, 5th edition, New York: Appleton &Lange, 1990: 783-791.

Irving I.M. Umbilical abnormalities. In: Lister J., Irving I.M. Neonatal Surgery, 3rd edition. London: Butterworth & Co., 1990: 376-402.

Dunn J.C.Y., Fonkalsrud E.W., Atkinson J.B. The Influence of Gestational Age and Mode of Delivery on Infants with Gastroschisis, J. Pediatr Surg 1999; (34) 1393-1395.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป