ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • อิทธิพงษ์ ยอดประสิทธิ์

คำสำคัญ:

การกลับซ้ำมะเร็งเต้านม, ปัจจัยที่มีผลการกลับซ้ำ

บทคัดย่อ

           การทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยเป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย รักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และได้มารับการดูแลต่อเนื่อง ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2543  ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2547 จำนวนทั้งสิ้น 667 ราย คัดเลือกเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กลับเป็นซ้ำ จำนวน 58 ราย นำมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำ ผลจากการศึกษาพบว่า ทั้งหมดเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 47.17 ปี อัตราส่วนผู้ป่วยที่ในวัยมีประจำเดือน: วัยหมดประจำเดือนคือ 1.52:1 ทุกรายได้รับการตรวจเพื่อเตรียมการผ่าตัดตามแนวทางการดูแลรักษามะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แต่ไม่ได้มีการส่ง Ultrasound Abdomen หรือ Bone scan เป็นประจำ ผู้ป่วย 41 ราย (7069%) พบว่ามีข้อบ่งชี้สำหรับการฉายแสงแต่ไม่ได้รับการฉายแสง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งซ้ำที่พบมากที่สุด ผลการเกิดเป็นมะเร็งซ้ำเฉพาะที่ ตรวจพบได้ครั้งแรก พบที่บริเวณผนังทรวงอกมากที่สุด (32.75%) ส่วนผลการเกิดเป็นระเร็งซ้ำทั่วร่างกาย พบที่ปอดมากที่สุด (24.14%) ระยะเวลาเฉลี่ยที่ปลอดจากโรคมะเร็งเต้านม ในผู้ป่วย 58 ราย เท่ากับ 22.3 เดือน ผลการศึกษา นำไปสู่การปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

References

Hutcha Sriplung. 1st Scientific Meeting ASOT Meeting 2003 "Cancer Management of Today from Gene to Cure". Epidemiology of Cancer in Thailand. 2003; 1-3.

รศ.นพ.ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย.แนวทางรังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. ใน: อาคม เชียรศิลปะ,สุนันทา จริยาเลิศศักดิ์,อาคม ชัยวีระวัฒนะ,ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคมะเร็งเต้านมปี 2546-2547. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2547: 42-45.

Veronesi U, Luini A, Del Vecchio M ,et al . Radiotherapy after breast preserving surgery in women with localized cancer of breast. N EngI J Med 1993; 328: 1587.

Osborne MP, Ormiston N, Harmer CL, et a/. Breast conservation in the treatment of early breast cancer. A 20 year follow up. Cancer 1984; 53: 349-55.

Early Breast Cancer Trialists' Collaborative Group.Tamoxifen for early breast cancer: an overview of randomized trials. Lancet 1998;352-930.

Early Breast Cancer Trialists' Collaborative Group. Polychemotherapy for early breast cancer: an overview of randomized trials.Lancet 1998; 352-930.

Bonnadonna G, Valagussa P. Dose – response effect of adjuvant chemotherapy in breast cancer. N Eng J Med 1981; 304: 10.

Hutchins L, GreenS, Ravdin P, et at. CMF vs CAF with and without Tamoxifen in high risk node negative breast cancer patients and a natural history follow up study in low risk node negative patients: first result of intergroup tria liNT 0102. Proc Am Soc Clin Oncol 1998; 17: 1a (abst2).

Arriagada R, Rutqvist LE, Mattsson A, et at. Adequate locoregional treatment for early breast cancer may prevent secondary dissemination.J Clin Oncol 1995; 13: 2869-78.

Ragaz J, Jackson SW, Le N, et at. Adjuvant radiotherapy and chemotherapy in node positive premenopausal woman with breast cancer. N Engl J Med 1997; 337: 956 -62.

สาวิตรี เมาฬกุลไพโรจน์. Systemic therapy in breast cancer. ใน: สุรพงษ์ สุภาภรณ์, สุมิต วงศ์เกียรติขจร, วิชัย วารนสิริ,จรัสพงศ์ เกษมมงคล, บรรณาธิการ.มะเร็งเต้านม.กรุงเทพมหานคร:

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป