การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2546

ผู้แต่ง

  • ประธานศักดิ์ ทนันชัย
  • สุเทพ ฟองศรี

คำสำคัญ:

การสอบสวนโรค, อาหารเป็นพิษ

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งประเด็นสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2546 มีผู้ป่วย จำนนวน 286 ราย เพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเป็นเพศชายร้อยละ 56.99 เพศหญิงร้อยละ 43.01 ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (กลุ่มอายุ 25-44 ปี) มากที่สุดร้อยละ 42.66 ระยะฟักตัวเร็วที่สุด 10 ชั่วโมง นานที่สุด 40 ชั่วโมง เฉลี่ย 24.28 ชั่วโมง ระยะฟักตัวมากที่สุดอยู่ในช่วง 23-28 ชั่วโมง ร้อยละ 44.40 สำหรับอาการและอาการแสดงที่ตรวจพบ ได้แก่ ถ่ายเหลวงเป็นน้ำ มากที่สุดร้อยละ 80.70 รองลงมา ได้แก่ ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ เจ็บแน่นหน้าอก อาเจียน ร้อยละ 72.51, 64.33, 45.63, 29.24, 15.20 และ 14.63 ตามลำดับ สาเหตุเกิดจากการรับประทานเนื้อกระบือดิบ โดยปรุงเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมของประชาชนในภาคเหนือ ได้แก่ หลู้ ส้า และลาบดิน มีความเสี่ยงสัมพันธ์เท่ากับ 46.67, 28.11 และ 11.65 ตามลำดับ ส่วนเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli และ Salmonella spp. และ เชื้อโปรโตชัว Sarcocystis spp.คณะทำงานเฝ้าระวังควบคุมโรคเฉพาะกิจ ทุกระดับควรเตรียมพร้อมรับสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในกลุ่มที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบิโภค ตอลดจนสุขวิทยาส่วนบุคคลและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่ได้ปรังปรุงให้ดีขึ้น

References

Brooks G. Butel JS, Morse SA. Jawetz, Meinick, & Adelberg,s Medical Microbiology. International edition. McGraw Hill, 2001.

Levinson W, Jawetz E. Medical microbiology and Immunology : examination Broad review.6th ed . Lange Medical Books/McGraw-Hi11,2000.

Murry PR, Rosenthal KS, Kobayashi GS, Pfaller MA. Medical microbiology 4th ed. Mosby, 2002.

Nester EW, Robert CE. and Nester MT. Microbiology : A human perspective. Wm. C Brown Publishers. England. 1995.

กระทรวงสาธารณสุข กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2544.

ชยันต์ธร ปทุมานนท์. ระบาดวิทยาการแพทย์. PHRCG Publication. เชียงใหม่. 2541.

นิมิต มรกต, เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ : โปรโตซัวและหนอนพยาธิ. เชียงใหม่ : โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.

พิสัย กรัยวิเชียร, ณัฐรส จันทชุม, ประเสริฐ สิทธิเจริญชัย, เมธี กุลกำม์ธร, วารุณี สุขศรี, วิไลศักดิ์ ศิริสัมพันธ์, สมชาย จงวุฒิเวศย์. ปาราสิตทางการแพทย์. กรุงเพทมหานคร : โครงการตำราจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป