การศึกษาย้อนหลังลักษณะทางคลินิกของโรคเลปโตสไปโรซีส ในโรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรทัศน์ คำตรี

คำสำคัญ:

เลปโตสไปโรซีส, เชียงใหม่, อาการทางคลินิก

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วย 18 ราย ที่ได้รับการตรวจยืนยันทางน้ำเหลืองว่าเป็นเลปโตสไปโรซีส ที่รับไว้นอนในโรงพยาบาลช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ในโรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเวชกรรม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการรักษา จากผู้ป่วยทั้งหมด 18 ราย พบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย มากกว่าเพศหญิง (14: 4 หรือ 3.5:1) พิสัยของอายุคือ 5 ถึง 53 ปี โดยร้อยละ  66.7 (12/18) ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุดคือ การทำนา ร้อยละ 66.7 (12/18) เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่มีความชุกของโรคสูงสุดในบริเวณนี้ เมื่อแรกรับไว้นอนในโรงพยาบาลจะมีอาการไข้ทุกราย (ร้อยละ 100) โดยมีไข้สูงตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร้อยละ 33.3 ปวดหัวเฉียบพลันร้อยละ 50 ปวดหัวรุนแรง ร้อยละ 22.2 ปวดตามกล้ามเนื้อร้อยละ 55.6 กดเจ็บกล้ามเนื้อน่องร้อยละ 22.2 ตาแดง ร้อยละ 22.2 คอแข็ง ร้อยละ 5.6 และดีซ่านร้อยละ 22.2 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า  White blood count มากกว่า 10,000 cell/mm3 ร้อยละ 50 มีเกร็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 /ทท3  ร้อยละ 16.7  มี urine albumin มากกว่า 1+ ร้อยละ 50 และมีค่า BUN Creatinine และ Bilirubin สูงกว่าค่าปกติ ร้อยละ 16.7 เท่ากัน วันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.9 วัน โดยมีวันนอนสูงสุด 11 วัน ผู้ป่วยร้อยละ 16.7 ได้รับการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด ที่เหลือร้อยละ 83.3 หายเป็นปกติ ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ Penicillin G. Sodium ร้อยละ 83.3  Chloramphenicol ร้อยละ 38.9 และ Doxycycline ร้อยละ 27.8

References

ดาริกา กิ่งเนตร. ธรรมชาติของโรคเลปโตสไปโรซีส ใน: วิชัย โชควิวัฒน์, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรซิส กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตร; 2543. : 7-22.

วราลักษณ์ ตังคณะกุล. อาการและอาการแสดงของโรคเลปโตสไปโรซีสใน: วิชัย โชควิวัฒน์, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรซิส กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตร; 2543. : 24-28.

พิมพ์ใจ นัยโกวิทและดวงพร พูลสุขสมบัติ. การตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซีสทางห้องปฏิบัติการ ใน: วิชัย โชควิวัฒน์, บรรณาธิการ.คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรซีส กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตร; 2543. : 32-42

สำนักระบาดวิทยา. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดสถานการณ์โรคในระบบเฝ้าระวัง.โรคฉี่หนู: URL: http:// epid.moph.go.th/dssur/zoonosis/lepto.htm

อำพล หงส์งาม. เลโตสไปโรซีสที่โรงพยาบาลนครพนม. ปี 2544-2545. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2545; 6:271-7

อำนาจ ทองชิด. เลปโตสไปโรซีสที่โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. ปี 2543.วารสารวิชาการสาธารณสุข; 2546.12:81-7

สุเทพ วณิชผล, สมชาย ภาสอาจ, วราลักษณ์ ตังคณะกุล. อาการของผู้ป่วยเลปโตสไปโรชีส จังหวัดสกลนคร 2543. วารสารวิทยาการระบาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2543. 5:20-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป