ความปลอดภัยและความคุ้มค่าในการเย็บแผลผ่าตัดด้วยเอ็นเบ็ดติดเข็มที่ผลิตขึ้นเอง เทียบกับไนล่อน ที่ผลิตขายทั่วไป (Ethilon ®)

ผู้แต่ง

  • เอกวิทย์ เอี่ยมทองอินทร์

คำสำคัญ:

เอ็นเบ็ดติดเข็มสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นเอง, ไหมเย็บแผลจากเอ็นเบ็ด

บทคัดย่อ

               การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความปลอดภัยและความประหยัดคุ้มค่าของการเย็บแผลผ่าตัดด้วยเอ็นเบ็ดติดเข็มที่ผลิตขึ้นเองเปรียบเทียบกับการเย็บด้วยไหมเย็บไนล่อนที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งศึกษาในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่ยังไม่ถึงระยะไส้ติ่งแตก จำนวน 80 ราย โดยการสุ่มและแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มแรกได้รับการเย็บปิดแผลผ่าตัดด้วยเอ็นเบ็ดเข็มที่ผลิตขึ้น อีกกลุ่มเย็บด้วยไนล่อนที่ใช้กันทั่วไป (commercial nylon) ขนาด 30 แล้วประเมินการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านของเนื้อเยื่อบริเวณรูเข็มเย็บหลังผ่าตัดในวันที่ 1, 2, 3 และวันที่ 7 จากนั้นทำการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในทั้งสองกลุ่มรวมทั้งเปรียบเทียบในเรื่องราคาและความสะดวกในการใช้ด้วย     ผลการศึกษา ลักษณะปัจจัยทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และการเกิดปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อบริเวณรอยเย็บในกลุ่มตัวอย่างทั้งสองรวมทั้งอัตราการติดเชื้อของแผลผ่าตัดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับเรื่องราคาพบว่าเอ็นเบ็ดสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นและผ่านการอบแก๊ส ethylene oxide เพื่อทำให้ปลอดเชื้อมีค่าใช้จ่ายประมาณ 7-10 บาท ต่อเส้น ซึ่งถูกกว่าไนล่อนที่ซื้อใช้กันทั่วไป 10 เท่า ในส่วนของแพทย์ผู้ผ่าตัดมีความพึงพอใจเอ็นเบ็ดติดเข็มเนื่องจากใช้ง่ายโดยเฉพาะความแหลมคมของเข็ม ปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นในแผลผ่าตัดที่เย็บด้วยเอ็นเบ็ดติดเข็มที่ผลิตขึ้นเองไม่มีความแตกต่างจากแผนที่เย็บด้วยไนลอนที่ซื้อใช้กันทั่วไป ความสำคัญอยู่ที่วิธีการทำให้ปลอดเชื้อมากกว่า ผู้วิจัยแนะนำให้ใช้การอบด้วยแก๊ส ethylene oxide หรือ formaldehyde เพราะได้มาตรฐานและทำได้ในทุกจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนของไทยรวมทั้งในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายน่าจะเลือกใช้เอ็นเบ็ดเป็นไหมเย็บแผลมาแทนที่ไนลอนที่ใช้กั้นทั่วไปเพราะราคาถูกกว่ามาก สามารถผลิตเองได้ทุกที่ เข็มมีความแหลมคมมากกว่า ส่วนเรื่องความปลอดภัยไม่ต่างกัน

References

Freudenberg S, Mkoney C, Whelhelm T, Nyawawa T, Kuhn C, Globholz R, Post S. Atruamatic intracutaneous skin closure with self-made fishing line suture compared to commercial tread. East African Medical Journal. 2004 Jul; 81 (7): 348-352.

Freudenberg S, Nyonde M, Mkony C, Wilheim T, Post S. Fishing line suture:cost cost saving alternative for atraumatic intracutaneous skin closure-randomized clinical trial in Rwanda.World J Surg. 2004 Apr, 28(4): 421-4. Epub 2004 Mar 17.

ยุษฐิสระ ภิรมย์ภักดิ์. Fishing nylon as suture material. liirlbmTbg;=lki 1982; 3(3): 195-200.

Sicard GK, Hayashi K, Manley PA. Evaluation of 5 types of fishing material 2 sterilization methods, and a crimp-clamp system for extra-articular stabilization of the canine stifle joint. Vet Surg . 2002 Jan-Feb; 31 (1 ): 78-84.

จินตรา ประภาสะโนบล, วิเชียร พงศ์ติยะ ไพบูลย์, ทวีพร เนียมมาลัย: การวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพการใช้เอ็นตกปลาเย็บแผล. รายงานในการประชุมวิชาการประจำปีชมรมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10 กรุงเทพฯ, 2548.

Crouse PJ, Foord R. The epidemiology of wound infection: a 10-year prospective study of 62,939 wounds. Surg Clin North Am 1980; 60: 27-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป