การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ สิริอารีย์

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน

บทคัดย่อ

      โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาหลายอย่าง ยังไม่เคยมีการศึกษาถึงข้อมูลทางระบาดวิทยา การบรรลุเป้าหมายการรักษา และข้อมูลการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลนครพิงค์ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยเบาหวาน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการประจำปี และจำนวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนรูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลัง ที่ห้องตรวจเบาหวานโรงพยาบาลนครพิงค์ วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาทำการลงทะเบียนที่ห้องตรวจเบาหวานของโรคพยาบาลนครพิงค์ ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 จำนวน 709 ราย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นเพศชายร้อยละ 37.3 เพศหญิง ร้อยละ 62.7 อายุเฉลี่ย 56.3 ปี มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.4 ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลก่อนอาหารเฉลี่ย 140.8 มก/ดล ระดับน้ำตาลสะสมฮีโมโกลบินเอวันซีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ร้อยละ 30.9 ยาที่ใช้ควบคุมระดับน้ำตาลมากที่สุดคือ กลุ่ม Sulfonylurea ร้อยละ 78.7 Metformin ร้อยละ 74.3 ความดันโลหิตสูงพบร้อยละ 60.5 สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี (น้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท) ร้อยละ 39.9 ยาที่ใช้ควบคุมความดันโลหิตมากที่สุดคือกลุ่ม ACEI ร้อยละ 53.8 ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการประจำปี เพื่อหาภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 83.9 พบว่ามีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 88.3 ควบคุมระดับไขมันแอลดีแอล ได้ตามเกณฑ์ (น้อยกว่า 100 มก/ดล) ร้อยละ 16.2 ผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 5.5 โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 6.8 มีภาวะไตเสื่อม ร้อยละ 29.9 มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 22.5 สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ดี การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการยังทำได้ไม่ครอบคลุม ซึ่งควรจะได้มีการปรับปรุงการดูแลรักษาผู้ป่วยในห้องตรวจเบาหวานต่อไป

References

Sritara P, Cheepudomwit S, Chapman N, et al. Twelve-year changes in vascular risk factors and their associations with mortality in a cohort of 3,499 Thais: the Electricity Generating Authority of Thailand study. Int J Epidemiol 2003;32:462-468.

Wichai A, Ronald P, Bruce Neal. The Prevalence and management of Diabetes in Thai Adults. Diabetes Care 2003;26:2758-2763

American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes-2006. Diabetites Care 2006;29:S4-42

Joint National Committee on Prevention Detection Evaluation and Treatment of High Blood Pressure. Seventh Report. U.S. Department of Health and Human Services. National Institutes of Health, National Services. National Institutes of Health, National Heart, Lungs and Blood institutes, National High Blood Pressure Education Program.NIH publication No.03-5233.2003;1-34

Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults: Executive Summary of The Third Report of the National Cholesterol Education Program(NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III). JAMA 285:2486-2497,2001

สำเริง สีแก้ว. การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. ลำปางเวชสาร 2548;26(1): 68-80

Santibhavank P. Type 2 Diabetes mellitus in Nkhon Sawan Province, Intern Med 1999;15:1-5

ใยวรรณ ธนะมัย. การควบคุมเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาล เลิดสิน. วารสารกรมการแพทย์ 2538;20(4)ซ 147-154

พิชัย สิริเวชฎารักษ์. ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาล บ้านแพ้ว. วารสารกรมการแพทย์ 2539;21(11):377-385

ทรรศลักษณ์ ทองหงส์. การบรรลุเป้าหมาย ในการดูแลรักษาโรคเบาหวานในสถานบริการระดับต่างกันในจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป