ผลของการใช้กรดไตรคลอโรอะซิติกและโปโดไฟลินในการรักษา โรคหูดหงอนไก่ในคลินิกพิเศษกามโรค จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรนารา ธิเขียว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • จิราภรณ์ อรุโณทอง

คำสำคัญ:

กรดไตรคลอโรอะซิติก, โปโดไฟลิน, โรคหูดหงอนไก่

บทคัดย่อ

โรคหูดหงอนไก่ถือเป็นโรคที่รักษายากและใช้เวลานาน มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้สูง ซึ่งการรักษาโรคหูดหงอนไก่มีหลายวิธี สำหรับคลินิกพิเศษกามโรคฯ ใช้วิธีการรักษาด้วยยาทามี 2 ชนิด ได้แก่ กรดไตรคลอโรอะซิติกและโปโดไฟลิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของใช้กรดไตรคลอโรอะซิติกและโปโดไฟลินในการรักษาโรคหูดหงอนไก่ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหูดหงอนไก่ที่ได้รับการดูแลรักษาโดยการทายาเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งตลอดการรักษาอย่างต่อเนื่องที่คลินิกพิเศษฯ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557- กันยายน 2560 และติดตามอาการ 6 เดือนหลังรักษาหาย จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการรวมทั้งสิ้น 118 ราย มีผู้ใช้ยาโปโดไฟลิน ร้อยละ 66.10 และใช้กรดไตรคลอโรอะซิติก ร้อยละ 33.90 วิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงปริมาณและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่าการใช้ยาโปโดไฟลินเปรียบเทียบกับกรดไตรคลอโรอะซิติกมีความความแตกต่างในด้านเพศ ตำแหน่งของการรักษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วม และผลข้างเคียงของยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ  เพศวิถี ระยะเวลาที่พบอาการ ระยะเวลาของการรักษาหายของผู้ป่วย และการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วย ไม่มีความแตกต่างระหว่างการใช้ยา 2 ชนิด แสดงให้เห็นว่ายาทาทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหูดหงอนไก่ได้ เหมือนกัน แต่การใช้กรดไตรคลอโรอะซิติกพบผลข้างเคียงมากกว่ายาโปโดไฟลิน อาจสรุปได้ว่า หากไม่มีข้อบ่งชี้ในการห้ามใช้ ยาโปโดไฟลินเป็นทางเลือกแรกในการใช้รักษาโรคหูดหงอนไก่

References

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2553). คู่มือปฏิบัติงานดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 25-26.

ชนากานต์ เกิดกลิ่นหอม และเพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์. (2559). คู่มือเรื่องโรคหูดหงอนไก่ [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=888

บุษบา เชื้ออินทร์ และพรชัย จิระชนากุล. (2549). การศึกษาประสิทธิผลของยา 5% Imiquimod cream ในการรักษาหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศและรอบทวารหนักในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://irem2.ddc.moph.go.th/research/1924

ปวีณา พังสุวรรณ. (2560). หูดอวัยวะเพศ (Anogenital wart) [online] [สืบค้นเมื่อ 14 มี.ค. 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&%20view=article&id=1311:anogenital-wart&catid=45&Itemid=561

สำนักระบาดวิทยา. (2559). Condyloma. จากรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?%20%20dcontent=%20old&ds=80

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: หจก.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 48-52.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2015). Sexually transmitted diseases treatment guidelines [online] [สืบค้นเมื่อ 13 มี.ค. 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/rr6403a1.htm

Nath, D., Kumar, B., Sharma, K. V., Kaur, I., Gupta, R., & Malhotra, S. (1990). Comparison of podophyllin and trichloroacetic acid for the treatment of genital warts. Indian Journal of Dermatology, Venereology, and Leprology, 56(1), 22-24.

Gabriel, G., & Thin, R. N. (1983). Treatment of anogenital warts. Comparison of trichloracetic acid and podophyllin versus podophyllin alone. Sexually Transmitted Infections, 59(2), 124-126

MedThai.2. (2559). โรคหูดหงอนไก่ [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://medthai.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88/

Tirgar, T. S., Javadian, M., & Barat, S. (2010). The efficacy of podophylin 20% and thricholoroacetic acid% 30 in the treatment of genital wart. Caspian Journal of Internal Medicine, 1(1), 16-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27