ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรวัยทำงาน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กัลยาณี ตันตรานนท์ ปร.ด. (พยาบาลศาสตร์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์ ปร.ด. (พยาบาลศาสตร์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วีระพร ศุทธากรณ์ ปร.ด. (อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • บังอร ศุภวิทิตพัฒนา ปร.ด. (พยาบาลศาสตร์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุมาลี เลิศมัลลิกาพร ปร.ด. (พยาบาลศาสตร์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เสาวนีย์ คำปวน วท.บ. (ศึกษาศาสตร์) โรงพยาบาลเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ประชากรวัยทำงาน, ตำบลหนองป่าครั่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรวัยทำงาน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากรโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 343 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพมีข้อคำถามจำนวน 55 ข้อ ลักษณะคำตอบเป็นแบบ 2 ตัวเลือก (ใช่/ไม่ใช่) แบบประเมินมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.98 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คอนติงเจนซี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง ร้อยละ 88.63 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า อาชีพและการมี/ไม่มีโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนเพศ อายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เหมาะสมกับลักษณะอาชีพและสถานะทางสุขภาพของประชากรวัยแรงงาน

References

กองโรคไม่ติดต่อ. (2559). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในโรคไม่ติดต่อ ประจำปีปฏิทิน พ.ศ. 2558 [online] [สืบค้นเมื่อ 18 ส.ค. 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020&searchText=&pn=2

กองโรคไม่ติดต่อ. (2562). จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559-2561 (รวม 4 โรค/ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/หัวใจขาดเลือด/หลอดเลือดสมอง/หลอดลมอักเสบ/ถุงลมโป่งพอง) [online] [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13653&tid=32&gid=1-020

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เกณฑ์ให้คะแนนจำแนกความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561 [online] [สืบค้นเมื่อ 17 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.hed.go.th/linkHed/333

เบญจวรรณ สอนอาจ. (2562). แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [online] [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2756/1/61260304.pdf

มารยาท โยทองยศ และปราณีสวัสดิสรรพ์. (มปป.). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค. 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf

ยุพยง หมั่นกิจ และกติกา สระมณีอินทร์. (2561). การศึกษาอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ ตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 180-188. [online] [สืบค้นเมื่อ 16 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2018121315220020.pdf

โรงพยาบาลเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง. (2562). ปัญหาสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ (ข้อมูล 1 ตุลาคม 2560 – 11 ตุลาคม 2561). เอกสารอัดสำเนา.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และวิทยา จันทร์ทา. (2561). ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 24(2), 34-51. [online] [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://journal.knc.ac.th/pdf/24-2-2561-3.pdf

วิมล โรมา และสายชล คล้อยเอี่ยม. (2561). การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม. (2556). รายงานประจำปี 2556 กองทุนเงินทดแทน [online] [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/e13af7d808ea7941addda331a452014d.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). ภาวะสุขภาพของแรงงานไทย. [online] [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/LaborHealty.pdf

แสงโฉม ศิริพานิช. (2554). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแบบเชิงรับ(506/2) [online] [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://drive.google.com/file/d/1gDCH2BTm4CCmOhBp1JOm4rJlJuV6l8gp/view

อารีย์ แร่ทอง. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 62-70.

Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice of nursing research: Conduct, critique, and utilization. (5th ed.). Missouri: Elsevier Saunders.

Chahardah-Cherik, S., Gheibizadeh, M., Jahani, S., & Cheraghian, B. (2018). The relationship between health literacy and health promoting behaviors in patients with type 2 diabetes. International journal of community based nursing and midwifery, 6(1), 65-75.

Kim, S. H. (2009). Health literacy and functional health status in Korean older adults. Journal of Clinical Nursing, 18(16), 2337-2343.

Kim, S. H., & Yu, X. (2010). The mediating effect of self-efficacy on the relationship between health literacy and health status in Korean older adults: A short report. Aging and Mental Health, 14(7), 870-873.

Lynn, M. R. (1986). Determination and quantification of content validity. Nursing Research, 35(6), 382-385.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The content validity index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29(5), 489-497.

Protheroe, J., Whittle, R., Bartlam, B., Estacio, E. V., Clark, L., & Kurth, J. (2017). Health literacy, associated lifestyle and demographic factors in adult population of an English city: a cross-sectional survey. Health Expectation, 20(1), 112–119.

Sorensen, K., Broucke, S. V., Fullam, J. et al. (2012). Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC public health, 12(80), 1-13.

World Health Organization. (2016). The mandate for health literacy. [cited 2019 August]; Available from: URL: https://www.who.int/healthpromotion/conferences/9gchp/health-literacy/en/

World Health Organization. (2019). Hypertension. [cited 2020 November]; Available from: URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป