ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากผู้ป่วยโรคติดเชื้อ สเตร็พโตค็อกคัสซูอิส พื้นที่ภาคเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วาที สิทธิ พ.บ., ส.ม., วว. เวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • นภักสรณ์ บงจภร กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • วรรณภา ฉลอม วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

สเตร็พโตค็อกคัสซูอิส, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ภาคเหนือ, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลทางระบาดวิทยาของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วยโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิสและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จากข้อมูลรายงานการสอบสวนโรคและฐานข้อมูลของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2562 และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยสถิติถดถอยพหุลอจิสติก ผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 45 ราย เป็นเพศชาย 39 ราย (ร้อยละ 86.7) อายุเฉลี่ย 56.5±14.6 ปี อาการและอาการแสดงที่พบมากที่สุด คือ ไข้ ร้อยละ 91.1 รองลงมาได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การได้ยินลดลง และคลื่นไส้/อาเจียน พบร้อยละ 57.8, 53.3, 35.6 และ 28.9 ตามลำดับ และพบว่าภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นภาวะที่พบได้มากที่สุด ร้อยละ 57.8 ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส เมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วยโรคติดเชื้อนี้ (26/45 ราย) พบว่า การดื่มสุราและการรับประทานลาบหมูดิบมีโอกาสที่จะเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็น 8.25 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95: 1.36-50.13) และ 7.72 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95: 1.28-46.64) ตามลำดับ ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดที่เกิดจากการติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส ในภาคเหนือตอนบน การดื่มสุราและการรับประทานลาบหมูดิบเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเกิดภาวะนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการรณรงค์ป้องกันทางด้านสาธารณสุขต่อไป

Author Biographies

นภักสรณ์ บงจภร กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา), สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค

กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา)

วรรณภา ฉลอม วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์), สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

References

ธีรศักดิ์ ชักนำ. (2552). คู่มือแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.

Athey, T. B. A., Teatero, S., Lacouture, S., Takamatsu, D., Gottschalk, M., Fittipaldi, N. (2016). Determining Streptococcus suis serotype from short-read whole-genome sequencing data. BMC Microbiol. [cited 2019 March 25]; Available from: URL:https://bmcmicrobiol.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12866-016-0782-8

Brouwer, M. C., Tunkel, A. R, van de Beek, D. (2010). Epidemiology, diagnosis, and antimicrobial treatment of acute bacterial meningitis. Clin Microbiol Rev. [cited 2019 March 25]; Available from: URL: https://cmr.asm.org/content/cmr/23/3/467.full.pdf.

Choi, S. M., Cho, B. H., Choi, K. H. et al. (2012). Meningitis caused by Streptococcus suis: case report and review of the literature. J Clin Neurol. [cited 2019 March 25]; Available from: URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3325437/pdf/jcn-8-79.pdf

Fongcom, A., Prusakorn, S., Netsirawan, P., Pongprasert, R., Onsibud, P. (2009). Streptococcus suis infection: a prospective study in northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 40(3), 511–517.

Huong, V. T. L., Ha, N., Huy, N. T. et al. (2014). Epidemiology, clinical manifestations, and outcomes of Streptococcus suis infection in humans. Emerging infectious diseases. [cited 2019 March 25]; Available from: URL:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4073838/pdf/13-1594.pdf.

Kerdsin, A., Dejsirilert, S., Puangpatra, P. et al. (2011). Genotypic profile of Streptococcus suis serotype 2 and clinical features of infection in humans, Thailand. Emerg Infect Dis. [cited 2019 March 25]; Available from: URL:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3321758/pdf/10-0754_finalR.pdf.

Lun, Z. R., Wang, Q. P., Chen, X. G., Li, A. X., Zhu, X. Q. (2007). Streptococcus suis: an emerging zoonotic pathogen. Lancet Infect Dis, 7(3), 201-209.

Padungtod, P., Tharavichitkul, P., Junya, S. et al. (2010). Incidence and presence of virulence factors of Streptococcus suis infection in slaughtered pigs from Chiang Mai, Thailand. Med Public Health, 41(6), 1454-1461.

Prasert, K., Nakphook, S., Chawanchitiporn, S., Veerapol, P. (2016). Clinical and epidemiology features of patients with Streptococcus suis infection in Nakhon Phanom province, Thailand, 2005-2012. J Dep Med Serv, 41(6), 80-89.

Rayanakorn, A., Goh, B. H., Lee, L. H., Khan, T. M., Saokaew, S. (2018). Risk factors for Streptococcus suis infection: a systematic review and meta-analysis. Sci Rep. [cited 2019 March 25]; Available from: URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6127304/pdf/41598_2018_Article_31598.pdf.

Rayanakorn, A., Katip, W., Goh, B., Oberdorfer, P., Lee, L. H. (2019). Clinical Manifestations and Risk Factors of Streptococcus suis Mortality Among Northern Thai Population: Retrospective 13-Year Cohort Study. Infection and Drug Resistance. [cited 2019 March25]; Available from: URL:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6941973/pdf/idr-12-3955.pdf.

Segura, M. (2009). Streptococcus suis: an emerging human threat. J Infect Dis, 199(1), 4-6.

Srifuengfung, S. (2009). Streptococcus suis infection. Siriraj Med J, 61(6), 334-338.

Tan, J. H., Yeh, B. I., Seet, C. S. (2010). Deafness due to haemorrhagic labyrinthitis and a review of relapses in Streptococcus suis meningitis. Singapore Med J. [cited 2019 March 25]; Available from: URL:http://smj.sma.org.sg/5102/5102cr3.pdf.

Van Samkar, A. V., Brouwer, M. C., Schultsz, C., van de Ende, A., van de Beek, D. (2015). Streptococcus suis Meningitis: A Systematic Review and Meta-analysis. PLoS Negl Trop Dis. [cited 2019 March 12]; Available from: URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4624688/pdf/pntd.0004191.pdf.

Wangkaew, S., Chaiwarith, R., Tharavichitkul, P., Supparatpinyo, K. (2006). Streptococcus suis infection: a series of 41 cases from Chiang Mai University Hospital. J Infect, 52(6), 455–460.

Wangsomboonsiri, W., Luksananun, T., Saksornchai, S., Ketwong, K., Sungkanuparph, S. (2008). Streptococcus suis infection and risk factors for mortality. J Infect, 57(5), 392–396.

Wertheim, H. F.L., Nghia, H. D., Taylor, W., Schultsz, C. (2009). Streptococcus suis: an emerging human pathogen. Clin Infect Dis, 48, 617-625.

Wertheim, H. F.L., Nguyen, H. N., Taylor, W. et al. (2009). Streptococcus suis, an important cause of adult bacterial meningitis in northern Vietnam. PLoS One. [cited 2019 March 25]; Available from: URL:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2696092/pdf/pone.0005973.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป