ประสิทธิผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง ท.บ. (ทันตแพทยศาสตร์) กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ทัศไนย วงค์ปินตา ท.บ. (ทันตแพทยศาสตร์) กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, การดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่าน ที่มีต่อความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ทัศนคติและทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก และการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นสมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นคู่มือการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นโดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้สูงอายุใน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนร่วมกัน 2) การฝึกปฏิบัติโดยการอบรมให้ความรู้สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุประกอบการใช้คู่มือฯ 3) การติดตามเยี่ยมบ้านและให้คำแนะนำ 4) การสะท้อนผลจากการปฏิบัติของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สุขภาพช่องปาก ทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทักษะดูแลสุขภาพช่องปาก การมีส่วนร่วมของผู้ดูแลก่อนและหลังเสริมสร้างพลังอำนาจ ด้วยสถิติค่าที (Paired t-test) ผลการศึกษาพบว่า หลังเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลมีระดับความรู้สุขภาพช่องปาก ทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทักษะดูแลสุขภาพช่องปาก และการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงเพิ่มขึ้นในระดับสูงกว่าก่อนการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากรวมถึงภาวะสุขภาพด้านอื่นๆ ของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงต่อไป

References

กรมการแพทย์. (2562). กรมการแพทย์แนะวิธีปฏิบัติตัวเรื่องการกลืนในผู้สูงอายุ [online]. [สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562]. แหล่งข้อมูล: URL: https://gnews.apps.go.th/news?news=45243

กรมอนามัย. (2558). คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร CARE MANAGER กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

กรมอนามัย. (2558). คู่มือหลักสูตรการอบรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ ด้านทันตสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย. (2559). การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียง : คู่มือสำหรับครอบครัวและผู้ดูแล. นนทบุรี: แก้วเจ้าจอม.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพ. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์

บุญชม ศรีสะอาด. (2561). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า [ออนไลน์]. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563]. แหล่งข้อมูล: URL: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/154487

บุญชม ศรีสะอาด และมานิต สิทธิพร. (2561). การวิจัยเกี่ยวกับมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) [ออนไลน์]. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(1), 1-8. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563]. แหล่งข้อมูล: URL: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/issue/view/12033

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : จามจุรี โปรดักท์.

พัชรี เรืองงาม. (2558). การขับเคลื่อนงานส่งเสริมทันตสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 20(2), 18-26.

มูลนิธิสถาบัน วิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่.

ณัฐวุฒิ พูลทอง, สมศักดิ์ อาภาศรีทองกุล และสุพัตรา วัฒนเสน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน บ้านโนนสง่า ตำบลซาง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารทันตาภิบาล, 27(2), 53-67.

โรงพยาบาลท่าวังผา. (2562). โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพอำเภอท่าวังผา. โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน.

สมพงษ์ จารุวิจิตรรัตนา. (2561). แนวทางการดูแลทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สมตระกูล ราศิริ, ธิติรัตน์ ราศิริ และยลฤดี ตัณฑสิทธิ์. (2561). แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน การส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข. วารสารทันตาภิบาล, 29(2), 123-135.

อาณัติ มาตระกูล, จรัญญา หุ่นศรีสกุล และอัจฉรา วัฒนาภา. (2561). ประสิทธิผลในการใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดเตียง: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์, 68(3), 256-269.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Bloom, B. M. (1968). Learning for Mastery. Center for the Study of Evaluation of Instructional Programs . Evaluation comment, 1(2), 1-12.

Kemmis, S. (2009). Action research as a practice based practice. Educational Action Research, 17(3), 463-474.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป