ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในการเพิ่มความสามารถการดำเนินกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง และผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ สุวรรณฉัตร พ.บ. โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่
  • ภัทรัตน์ ปานสุวรรณจิตร์ พ.บ., วว. เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่
  • วิชุดา จิรพรเจริญ พ.บ., วว. เวชศาสตร์ครอบครัว ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การดูแลระยะกลาง, การประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางต่อความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง และผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ในโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงคะแนนความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังนอนโรงพยาบาลของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 69 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ระหว่าง 1 มกราคม 2562–30 กันยายน 2563 เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงคะแนนความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันกับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ด้วยสถิติ t-test และ One way ANOVA test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมากที่สุด ร้อยละ 73.91 อายุระหว่าง 15-59 ปี
ร้อยละ 56.52 และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 52.17 โดยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 75.00 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันผู้ป่วยที่เข้ารับบริการการดูแลระยะกลางมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่ม 3.94±3.28 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ซึ่งผู้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนมีผลต่างของคะแนน Barthel ADL Index แตกต่างจากผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) โดยผลต่างของคะแนนเฉลี่ย Barthel ADL Index ของกลุ่มที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเท่ากับ 4.43 (S.D.=3.14) และผลต่างของคะแนนเฉลี่ย Barthel ADL Index ของกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนเท่ากับ 1.85 (S.D.=3.16) ดังนั้นรูปแบบการดูแลระยะกลางแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง และผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะดำเนินกิจวัตรประจำวันได้

References

กรมสุขภาพจิต. (2559). แบบประเมินซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย (รวมแบบประเมิน 2Q 9Q และ 8Q) [แบบประเมิน] [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf

คณะทำงานโครงการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู พ.ศ. 2558 – 2559 สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (2559). การพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Subacute Rehabilitation) และถอดบทเรียนการดำเนินงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://rehabmed.or.th/files/book.pdf

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน. (2562). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan). สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.

จเร วิชาไทย, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และวัชรา ริ้วไพบูลย์. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาการจัดบริการและต้นทุนบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือข่ายสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล และอรพิชญา ไกรฤทธิ์. (2561). การประเมินความเจ็บปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีเวชสาร, 41(3), 92-99.

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. (2562). โครงการวิจัยเรื่อง การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://hrdo.org/wp-content/uploads/2019/10/รายงานฉบับสมบูรณ์-การประเมินระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สุวิณี วิวัฒน์วานิช, สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2555). รายงานวิจัย การศึกษาความพร้อมและความต้องการของผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข การสำรวจแบบวันเดียว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

Kuptniratsaikul, V., Wattanapan, P., Wathanadilokul, U. et al. (2016). The effectiveness and efficiency of inpatient rehabilitation services in Thailand: a prospective multicenter study. Rehabilitation Process and Outcome, 5, 13-18.

Pattanasuwanna P. (2019). Outcomes of Intermediate Phase Post-Stroke Inpatient Rehabilitation in Community Hospital. ASEAN Journal of Rehabilitation Medicine, 29(1), 8-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป