การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • กฤษณะพงษ์ ดวงสุภา วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาคต
  • สยัมภู ใสทา ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม, สังคมสูงวัย, ประชากรก่อนวัยสูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 55-59 ปี ตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 245 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.35 ระดับต่ำ ร้อยละ 28.16 และระดับสูง ร้อยละ 24.49 การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและด้านสังคมอยู่ระดับสูง ร้อยละ 62.45 และ 56.33 ตามลำดับ ด้านสุขภาพอยู่ระดับปานกลางร้อยละ 44.08 ส่วนด้านเศรษฐกิจอยู่ระดับต่ำ ร้อยละ 55.51 ปัจจัยด้านจำนวนบุตร อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน และการมีเงินออมของครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ดังนั้นประชากรก่อนวัยสูงอายุควรได้รับการส่งเสริมให้มีรายได้ที่มั่นคงและมีเงินออม ควรส่งเสริมให้มีการดื่มนม การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพช่องปาก และการวางแผนการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2562 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.dop.go.th/th/know/1/275

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สมลดา.

กอปรกมล ศรีภิรมย์ และสหพัฒน์ บรัศว์รักษ์. (2563). การเตรียมความพร้อมด้านการเงินและที่อยู่อาศัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 13(1), 46-55.

กริช เกียรติญาณ และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตําบลวัดไทรย์ อําเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 59-74.

จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. (2555). การคำนวณขนาดตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(3), 192-198.

ชลธิชา อัศวนิรันดร และวิราภรณ์ โพธิศิริ. (2558). การแลกเปลี่ยนการเกื้อหนุนระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรใน ประเทศไทย: สถานการณ์ แนวโน้ม และความแตกต่างทางเพศและอายุ.วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 41(1), 105-120.

ญภัทรา ภูรภัทเกียรติกุล และธีรเดช สนองทวีพร. (2562). สภาวะการออมของประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 1-14.

ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของ ประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 131-143.

บัณฑิตา อินสมบัติ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15; วันที่ 23 กรกฎาคม 2558; นครสวรรค์.

ภาณุวัฒน์ มีชะนะ, ณิชชาภัทร ขันสาคร, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวีวรกุล และเพ็ญศรี พิชัยสนิธ. (2560). การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, 11(1), 259-271.

วรรณรา ชื่นวัฒนา และชูชีพ เบียดนอก. (2555). การรับรู้และการเตรียมความพร้อมสำหรับประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 4(2), 197–208.

สำนักงานสถิติจังหวัดลำปาง. (2562). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง [online]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://lampang.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=423:2020-09-14-21-39-28&catid=105:2012-01-09-07-07-49&Itemid=657.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน เป็นรายภาค และจังหวัด พ.ศ. 2545 - 2562 [online]. [สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2563). การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง เขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2564 [online]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=df0700e8e3c79802b208b8780ab64d61

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2563). ประชากรแบ่งตามเพศและกลุ่มอายุ [online]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

อารีย์ สงวนชื่อ, พิชสุดา เดชบุญ, รัตนาภรณ์ อาษา, พิชญาวดี ศรีธนต์, ศศิธร นวนเทศ และณัชชา คงมั่น. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของวัยแรงงานเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในเขตโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 43(4), 105-109.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Lemon, B. W., Bengtson, V. L., & Peterson, J. A. (1972). An exploration of the activity theory of aging: Activity types and life satisfaction among in-movers to a retirement community. Journal of gerontology, 27(4), 511-523.

Lyons, A. C., Grable, J. E., & Joo, S. H. (2018). A cross-country analysis of population aging and financial security. The Journal of the Economics of Ageing, 12, 96-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป