ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ไพศาลสุทธิชล พย.ม. (บริหารการพยาบาล) ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อิสรีย์ ปัญญาวรรณ พย.ม. (การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช) ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ดัชนีมวลกาย, พฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน, บุคลากรทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายและศึกษาพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 102 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม อัตราการตอบกลับและมีความสมบูรณ์คิดเป็นร้อยละ 87.93  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแคว์ การหาความสัมพันธ์เพียร์สัน และสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งพยาบาล เป็นเพศหญิง (66 คน) คิดเป็นร้อยละ 64.70 โดยมีอายุเฉลี่ย 40.80 ปี และมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ (48 คน) ร้อยละ 47.10  และพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตำแหน่ง อายุ กรรมพันธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 โรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .01 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ไม่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่าง ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายในบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน

Author Biography

อิสรีย์ ปัญญาวรรณ พย.ม. (การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช), ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Maharaj nakorn chiangmai

References

กนกนันท์ สมนึก, กุลรัตน์ สายธิไชย, กิตติพงศ์ อ้วนแก้ว, รุ่งนภา ศิริพรไพบูลย์ และอานนท์ ทองคงหาญ. (2564). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 65(1), 27-36.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ร้อยละของประชากรวัยท้างาน อายุ 18-59 ปี มีเส้นรอบเอวปกติ ระดับเขตสุขภาพ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/waist1859/index?year=2021

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การส้ารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ส้านักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์.

ศศิกร เสือแก้ว. (2553) การป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในเขตอ้าเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน ภาควิชาจิตวิทยาและ การแนะแนว: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำราญ พุ่มวัชระ, ณัชวดี ไหวศรี, อิศรา ยศสุรินทร์ และคณะ. (2564). การส้ารวจสุขภาพบุคลากร ปี 2564. จากฐานข้อมูลบุคลากรทางการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (เอกสารอัดส้าเนา).

Abarca-Gómez, L., Abdeen, Z. A., Hamid, Z. A. et al. (2017). Worldwide trends in body-mass index, underweight, overweight, and obesity from 1975 to 2016: a pooled analysis of 2416 population-based measurement studies in 128· 9 million children, adolescents, and adults. The lancet, 390(10113), 2627-2642.

Bilski, J., Pierzchalski, P., Szczepanik, M., Bonior, J., & Zoladz, J. A. (2022). Multifactorial Mechanism of Sarcopenia and Sarcopenic Obesity. Role of Physical Exercise, Microbiota and Myokines. Cells, 11(1), 160.

Cuevas, A. G., Stanton, M. V., Carvalho, K. et al. (2022). Stressful Life Events and Obesity in the United States: The Role of Nativity and Length of Residence. American Journal of Health Promotion, 36(1), 190-193.

Do Carmo, I., Dos Santos, O., Camolas, J. et al. (2008). Overweight and obesity in Portugal: national prevalence in 2003–2005. Obesity reviews, 9(1), 11-19.

Ganesan, S., Magee, M., Stone, J. E. et al. (2019). The impact of shift work on sleep, alertness and performance in healthcare workers. Scientific reports, 9(1), 1-13.

Hewagalamulage, S. D., Lee, T. K., Clarke, I. J., & Henry, B. A. (2016). Stress, cortisol, and obesity: a role for cortisol responsiveness in identifying individuals prone to obesity. Domestic animal endocrinology, 56, S112-S120.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Kunyahamu, M. S., Daud, A., & Jusoh, N. (2021). Obesity among Health-Care Workers: Which Occupations Are at Higher Risk of Being Obese?. International journal of environmental research and public health, 18(8), 4381.

Liang, X., Or, B., Tsoi, M. F., Cheung, C. L., & Cheung, B. M. (2021). Prevalence of Metabolic Syndrome in the United States National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES) 2011-2018.

Luckhaupt, S. E., Cohen, M. A., Li, J., & Calvert, G. M. (2014). Prevalence of obesity among US workers and associations with occupational factors. American journal of preventive medicine, 46(3), 237-248.

Nugent, R., Levin, C., Hale, J., & Hutchinson, B. (2020). Economic effects of the double burden of malnutrition. The Lancet, 395(10218), 156-164.

Pengpid, S., Peltzer, K., Rachmi, C. N., Agho, K. E., Li, M., & Baur, L. A. (2017). Tackling Obesity in Asean: Prevalence, Impact, and Guidance on Interventions. PLoS One, 11(6), 1-6.

Rissanen, A. M., Heliövaara, M., Knekt, P., Reunanen, A., & Aromaa, A. (1991). Determinants of weight gain and overweight in adult Finns. European journal of clinical nutrition, 45(9), 419-430.

Salehi, M. (2022). The Effect of Stress and Psychological Disorders on Functional Gastrointestinal Disorders. GOVARESH, 26(3), 143-148.

Samhat, Z., Attieh, R., & Sacre, Y. (2020). Relationship between night shift work, eating habits and BMI among nurses in Lebanon. BMC nursing, 19(1), 1-6.

Serlachius, A., Hamer, M., & Wardle, J. (2007). Stress and weight change in university students in the United Kingdom. Physiology & behavior, 92(4), 548-553.

Stefan, N., Birkenfeld, A. L., & Schulze, M. B. (2021). Global pandemics interconnected-obesity, impaired metabolic health and COVID-19. Nature Reviews Endocrinology, 17(3), 135-149.

Sturm, R., & An, R. (2014). Obesity and economic environments. CA: a cancer journal for clinicians, 64(5), 337-350.

Tomiyama, A. J. (2019). Stress and obesity. Annual review of psychology, 70, 703-718.

Verhaegen, A. A., & Van Gaal, L. F. (2017). Drug-induced obesity and its metabolic consequences: a review with a focus on mechanisms and possible therapeutic options. Journal of Endocrinological Investigation, 40(11), 1165-1174.

WHO Expert Consultation. (2004). Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet, 363(9403), 157-163.

World Health Organization. (2021). Body Mass Index (BMI) [online]. [cited 11 June 2021]; Available from: URL: https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/topic-details/GHO/body-mass-index

Zhang, S., Wang, H., Wang, Y., Yu, M., & Yuan, J. (2021). Association of rotating night shift work with body fat percentage and fat mass index among female steelworkers in north China. International journal of environmental research and public health, 18(12), 6355.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30