การประเมินความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารตะกั่วและแคดเมียมในเลือดครบส่วน โดยวิธีแกรไฟต์เฟอร์เนสอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโตรเมตรี เพื่อการเฝ้าระวังโรคในเขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • อภิวดี ทองสง วท.ม. (นิติวิทยาศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • เจียรนัย ขันติพงศ์ วท.ม. (พิษวิทยา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • รจนา พงศ์สารารักษ์ วท.ม. (ชีวเคมี) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • พิชญา ตันตระกูล วท.ม. (จุลชีววิทยา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • สาริณี ศรีเทพ วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สารตะกั่ว, สารแคดเมียม, เลือดครบส่วน, GF-AAS

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่วและแคดเมียมในเลือดครบส่วน ด้วยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometry (GF-AAS) โดยเครื่องวิเคราะห์รุ่น contrAA800D ทำการศึกษาระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน 2563 ที่ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านการควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ โดยใช้เลือดแกะที่ผ่านการตรวจหาสารตะกั่ว และสารแคดเมียม ที่มีค่าการดูดกลืนแสง อยู่ในช่วง 0-0.0050 และช่วง 0-0.0182 ตามลำดับ เป็นเลือดควบคุมผลลบในการทดสอบค่าความถูกต้อง ความแม่นยำ ขีดจำกัดการตรวจพบ และใช้ตัวอย่างทดสอบความชำนาญจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จำนวน 8 ตัวอย่าง เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์กับห้องปฏิบัติการอื่นอีก 38 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเข้มข้นของสารตะกั่ว และสารแคดเมียมที่วัดได้ มีความเป็นเส้นตรงในช่วง 40-400 ug/l และ 1.0-8.0 ug/l ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากกว่า 0.995 ขีดจำกัดการตรวจพบเท่ากับ 1.6 ug/l และ 0.2 ug/l ขีดจำกัดการตรวจวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 40 ug/l และ 1.0 ug/l การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละของการคืนกลับอยู่ในช่วงร้อยละ 100-105 และ 100-103 ประเมินค่าความแม่นยำในการทวนซ้ำที่ค่าระดับต่ำ กลาง และสูง โดยใช้สมการของ Horwitz’s ratio ได้ค่า HORRAT ผ่านเกณฑ์การยอมรับตามมาตรฐานสากล ตัวอย่างทดสอบความชำนาญมีค่าที่ตรวจวัดใกล้เคียงกับค่าที่กำหนด คือ /z or z’/< 2 จากการตรวจสอบความถูกต้องพบว่าการใช้วิธีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารตะกั่ว และสารแคดเมียมในเลือดครบส่วนได้ตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมต่อไป

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2561). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2561 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565]. แหล่งข้อมูล: http://164.115.27.97/digital/items/show/17969?advanced%5B0%5D%5Belement_id%5D=40&advanced%5B0%5D%5Btype%5D=is+exactly&advanced%5B0%5D%5Bterms%5D=2561

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2558a). คู่มือให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ศูนย์อ้างอิงทาง ห้องปฏิบัติการและพิษวิทยา.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2558b). ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง ข้อแนะนำการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมี กรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices: Thai BEIs) ฉบับที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. ระยอง: โอ วิทย์ ประเทศไทย.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2562). คู่มือการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษตะกั่วในกลุ่มเด็ก ฉบับที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคพิษตะกั่วในกลุ่มวัยแรงงาน. ฉบับที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

จุไรรัตน์ มหาเทียน. (2011). การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ (method validation). (เอกสารอัดสำเนา).

ดุษฎี พลภัทรพิเศษกุล. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนทดสอบความชำนาญการวิเคราะห์โลหะในเลือด 2563. (เอกสารอัดสำเนา).

สุภาณี ดวงธีรปรีชา. (2561). การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (Analytical Method Validation). บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwif26qkp5H6AhWe7jgGHXEWAj0QFnoECBAQAQ&url=https%3A%2F%2Fccpe.pharmacycouncil.org%2Fshowfile.php%3Ffile%3D508&usg=AOvVaw3rXN7f89G8QayAY1B4ijn5

American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH). (2017). TLV/BEI Guidelines [online]. [cited 2022 June 18]; Available from: https://www.acgih.org/science/tlv-bei-guidelines/

Black, M. M., Fell, G. S., & Ottaway, J. M. (1986). Determination of cadmium in blood plasma by graphite furnace atomic absorption spectrometry. Journal of Analytical Atomic Spectrometry, 1(5), 369-372. [cited 2020 February 26]; Available from: https://pubs.rsc.org/en/content/articlelanding/1986/ja/ja9860100369/unauth

Fajgelj, A., Ambrus, Á., & Horwitz, W. (2000). Principles and Practices of Method Validation [online]. [cited 2022 June 19]; Available from: https://pubs.rsc.org/en/content/chapter/bk9780854047833-00001/978-1-84755-175-7

Magnusson, B. (2014). The fitness for purpose of analytical methods: a laboratory guide to method validation and related topics [online]. [cited 2020 January 17]; Available from: https://www.eurachem.org/images/stories/Guides/pdf/MV_guide_2nd_ed_EN.pdf

Miller J.N. & Miller J.C. (2018). Statistics and chemometrics for analytical chemistry [online]. [cited 2022 June 19]; Available from: https://bisakimia.com/wp-content/uploads/2017/09/21202653-miller-m-james-statistics-and-chemometrics-for-analytical-chemistry-5th-ed.pdf

Pulido, P., Fuwa, K., & Vallee, B. L. (1966). Determination of cadmium in biological materials by atomic absorption spectrophotometry. Analytical Biochemistry, 14(3), 393-404. [cited 2022 August 26]; Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/0003269766902818

The Association of Official Analytical Chemists (AOAC). (2016). Appendix F: guidelines for standard method performance requirements [online]. [cited 2022 June 19]; Available from: http://www.eoma.aoac.org/app_f.pdf

Tichenor, M., & Sridhar, D. (2019). Metric partnerships: global burden of disease estimates within the World Bank, the World Health Organization and the Institute for Health Metrics and Evaluation. Wellcome Open Research, 4. [cited 2022 May 26]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6406176.2/

Thompson, M., Ellison, S. L., & Wood, R. (2002). Harmonized guidelines for single-laboratory validation of methods of analysis (IUPAC Technical Report). Pure and applied chemistry, 74(5), 835-855. [cited 2022 June 18]; Available from: https://www.degruyter.com/document/doi/10.1351/pac200274050835/html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27