ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศิริพร สิทธิ พย.บ. (พยาบาลศาสตร์) นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รังสิยา นารินทร์ ปร.ด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ วท.ม. (พยาบาลสาธารณสุข) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างแรงจูงใจ, การป้องกันการบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 71 คน ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน จาก 2 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 36 คน หลังจากนั้นจับสลากแบบไม่ใส่คืนจากทะเบียนรายชื่อนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ และทำการจับคู่เพศและประสบการณ์ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พร้อมทั้งได้รับคู่มือการปฏิบัติเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Paired t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังจากได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นทีมสุขภาพสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อให้เกิดการปฏิบัติในการป้องกันการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. (2563). หยุดเด็กและเยาวชนไทยตาย...จากอุบัติเหตุทางถนน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1092720210115061932.pdf

กองป้องกันการบาดเจ็บ. (2564). คู่มือ Train the Trainer and Managers [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/764dfd31-031e-ed11-80fa-00155db45613

กานต์พิชชา หนูบุญ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2558). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 1-9. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: http://trsl.thairoads.org/FileUpLoad/1652/170206001652.pdf

วรรวิษา ภูผิวแก้ว, วิศิษฎ์ ทองคำ และนันทวรรณ ทิพยเนตร. (2561). ผลของโปรแกรมขับขี่ปลอดภัยในการป้องกันอุบัติภัยจราจร จากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 24(1), 76-85. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/188819

ศิวาภรณ์ ศรีสกุล. (2558). ผลของการสร้างแรงจูงใจเพื่อการปกป้องสุขภาพต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/3base_status_new

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2562). แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2561–2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล: http://roadsafety.disaster.go.th/upload/minisite/file_attach/196/5e8f159b2f84c.pdf

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมใจ อ่อนละเอียด. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2555). จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การอนามัยโลก. (2562). การเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการชนบนถนนในประเทศไทย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/thailand/roadsafety/overview-th-final-25-7-19.pdf?sfvrsn=c6dc3da5_2

อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, (2546). อุบัติเหตุจราจร: เหตุนำการตายในวัยรุ่น (Traffic Injuries: the Leading Cause of Death in Adolescents) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?id_g=46&h=123&s_id=15&d_id=15&page=2

ฮอนด้า. (2564). ฝึกทักษะ การคาดการณ์อุบัติเหตุ (Accident Prediction Training) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ1 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://www.hondasafetyapt.com/

Cohen, J. (1969). Statistic power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press.

Rogers, R. W. (1983). Cognitive and Physiological Processes in Fear Appeals and Attitude Change: A Revised Theory of Protection Motivation. In: Cacioppo, J. and Petty, R., Eds. Social Psychophysiology: A Sourcebook. New York: Guilford Press. 153-177.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27