ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้วในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์, ความรู้, การปฏิบัติ, การตรวจน้ำตาลในเลือด, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้วในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 18 คน และกลุ่มทดลอง 18 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2565 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 2) สไลด์เนื้อหาบรรยายภาพ 3) วีดิทัศน์ 4) โมเดลชุดฝึกเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้ว 5) คู่มือการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้ว และ 6) แบบบันทึกและรายงานผลค่าระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความรู้การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้วและ 2) แบบสังเกตการปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กลุ่มทดลองผ่านการปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือด ร้อยละ 83.30 และมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้ว (Mean=12.39, S.D.=2.03) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (Mean=10.50, S.D.=1.58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในชุมชน โดยนำโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ไปพัฒนาความรู้และทักษะการปฏิบัติของ อสม. เกี่ยวกับการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้ว ให้เกิดความรู้ที่เพิ่มขึ้นและการปฏิบัติที่ดีขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=c11dad88f80061c70cd1ae96b500d017&id=da8985453cc45883e5e43639c32c4adf
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน เขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2021&source=pformated/format1.php&id=e9e461e793e8258f47d46d6956f12832
กรมควบคุมโรค. (2564). ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13914&gid=18
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2546). คู่มือการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.
กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2555). หลักสูตรการอบรม อสม. เชี่ยวชาญ พ.ศ. 2555 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: http://www.ssosth.go.th/rp2011/rps3/Thu110758.pdf
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพาและคู่มือการใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพาสำหรับ อสม. คัดกรองโรคเบาหวาน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/file001.pdf
ขวัญตา เพชรมณีโชติ, ลักษณา พงษ์ภุมมา, อนิสา อรัญคีรี และพัชรี เตาวลานนท์. (2564). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(3), 28-41.
จริยาพร ศรีจอมพล และเบญจา มุกตพันธุ์. (2561). ความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ ต่อการปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลเวียงคำ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(2), 79-87.
ณฐา เชียงปิ๋ว, วราภรณ์ บุญเชียง และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2558). ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร, 45(1), 87-99.
นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี และประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2559). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร, 43(พิเศษ), 104-115.
ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง ขอบเขตและสมรรถนะผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาต่าง ๆ. (2552, 30 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ ๑๖ ง, หน้า 28-29.
วิภาพร สิทธิสาตร์, ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2558). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(1), 25-31.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2562). ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน คาดถึง 5.3 ล้านคนในปี 2583 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18031
อำพิกา คันทาใจ, เดชา ทำดี และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2564). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้ การปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำ ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(1), 83-95.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. New Jersey: Prentice-Hall.
Ogurtsova, K., da Rocha Fernandes, J. D., Huang, Y. et al. (2017). IDF Diabetes Atlas: Global estimates for the prevalence of diabetes for 2015 and 2040. Diabetes Research and Clinical Practice, 128, 40-50.
Peterson, K., & Kolb, D. A. (2017). How you learn is how you live: Using nine ways of learning to transform your life. Berrett-Koehler Publishers.