ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือมลภาวะหมอกควันของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ปัจจัย, มลภาวะหมอกควัน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือมลภาวะหมอกควันของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้กรอบแนวคิดการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพแบบสหปัจจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 203 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 50–59 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพเกษตรกร สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือมลภาวะหมอกควันอยู่ในระดับดี ร้อยละ 38.9 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือมลภาวะหมอกควัน ได้แก่ การดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน ทัศนคติของการปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือมลภาวะหมอกควัน ปัจจัยเอื้อได้แก่ การได้รับความรู้จากหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ในชุมชน และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัวช่วยให้เขามีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้การได้รับความรู้จากหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆ และการได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือมลภาวะหมอกควันของ อสม. ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 25.8 ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการให้ความรู้ การพัฒนาศักยภาพ และให้กำลังใจกับอาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการสนับสนุนให้บุคคลที่มีการดำรงตำแหน่งสำคัญในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านมลภาวะหมอกควันเพื่อให้การปฏิบัติงานของ อสม. เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). แนวทางการดำเนินงานแสริมสร้างบทบาท อสม. และเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อการช่วยเหลือและดูแลประชาชนในชุมชนพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควัน: ดำเนินการรองรับปัญหาหมอกควันและมลพิษทางอากาศของกระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564]; แหล่งข้อมูล: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/Operations..pdf
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2558). รายงานประจำปี 2558 กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://hia.anamai.moph.go.th/th/annualreport/3188#wow-book/
จันทิมา เหล็กไหล. (2562). ปัจจัยพยากรณ์การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท.สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชลทิตย์ ทักท้วง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกรณีศึกษาโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารจัดการภาครัฐ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ชลธิศ บุญร่วม. (2561). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐภูมิ เมืองเดช. (2563). การจัดการความรู้เพื่อลดปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เนาวรัตน์ กระมูลโรจน์. (2561). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติพยาบาลแบบครอบครัวเป็นศูนย์กลางของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
บุษรินทร์ แสวงสุข. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ปรัศนี หอมดี. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ อำเภอปากชม จังหวัดเลย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พรพจน์ บุญญสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พัชรินทร์ ศรีบุตร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภูษิต ขันกสิกรรม. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก. สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุทธนา แยบคาย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุโขทัย. สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัชนีวรรณ คำตัน, ขนิษฐา เสถียรพีระกุล, ฑีฆา โยธาภักดี และเก นันทะเสน. (2562). ปัญหาหมอกควันและผลกระทบด้านสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 265-273. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243646
ภิรญา จำปาศรี, สมสมัย รัตนกรีฑากุล และวรรณรัตน์ ลาวัง (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 76-88. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/101429
วิภาพร สิทธิสาตร์, ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2558). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(1), 25-31. [สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/41834
วิภาวดี วุฒิเดช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิไลวรรณ กอธงทอง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. (2564). รายงานสถานการณ์ผลกระทบด้านสุขภาพจากปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในระยะหมอกควัน ปี พ.ศ.2564 (มกราคม - พฤษภาคม 2564) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: http://1.10.141.27/epidpc10/list_situation.php?cat_id=3
อัจฉรีย์ ทิพธนธรณินทร์. (2558). แนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันสำหรับจังหวัดเชียงใหม่. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 4(1), 72-105. [สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563]; แหล่งข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/120541
Bloom. B.S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. Losangeles: University of California at Los Angeles.
Salkind, N. J. (2008). Encyclopedia of educational psychology. London: SAGE Publications.