ผลกระทบสุขภาพจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ผลกระทบสุขภาพ, การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบสุขภาพจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นครัวเรือน จำนวน 291 ครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ถึง 18 กันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงวิเคราะห์โดยใช้การถดถอยเชิงพหุคูณ และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีระดับทัศนคติต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.85±0.06) ระดับการมีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะมูลฝอยโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.33±0.21) ส่วนผลกระทบสุขภาพจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.94±0.08) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบสุขภาพจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ได้แก่ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ทิ้ง และทัศนคติต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยร่วมกันพยากรณ์ผลกระทบสุขภาพของประชาชนได้ร้อยละ 29.90 ดังนั้นควรสร้างความตระหนักในการลดปริมาณขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงหาวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลเมืองยาว โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างแท้จริง
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). องค์ความรู้ “การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม” [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.pcd.go.th/publication/25862
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม. (2564). ข้อมูลสถิติ…กุญแจสำคัญไขปัญหาขยะ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://infotrash.deqp.go.th/news/78?fbclid
กิตติ ชยางคกุล. (2555). ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย: ศึกษากรณีการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(1), 154-165. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/28608
ดิษฐพล ใจซื่อ, เรณุวัฒน์ โคตรพัฒน์, ณฐพร คำศิริรักษ์, สัมฤทธิ์ ขวัญโพน, อาภรณ์รัตน์ เนาวะดี และธรรวรา ตันติกุลวัฒนกิจ. (2560). สถานการณ์ขยะและการจัดการขยะที่ต้นทางในชุมชน อำเภอวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(13), 38-46. [สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/199106
เทศบาลตำบลเมืองยาว. (2565). ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งกำจัด ณ ศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2562-2564. (เอกสารอัดสำเนา).
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สมเจตน์ จองดำ และจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2561). ผลกระทบทางด้านสุขภาพของแรงงานคุ้ยขยะในหลุมฝังกลบขยะ เทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(1), 14-27. [สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/182692
Daniel, W. W. (2010). Biostatistics A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 9thed. New Jersey: John Wiley & Sons.
Health Canada. (2000). Health Canada Decision-Making Framework for Identifying, Assessing, and Managing Health Risks [Online]. [cited 2022 August 10]; Available from: https://www.canada.ca/content/dam/hc-sc/migration/hc-sc/ahc-asc/alt_formats/hpfb-dgpsa/pdf/pubs/risk-risques-eng.pdf
Pervez, A. & Kafeel, A. (2013). Impact of Solid Waste on Health and The Environment. International Journal of Sustainable Development and Green Economics. 2 (Special Issue), 165-168. [Online]. [cited 2022 September 17]; Available from: https://www.researchgate.net/publication/306150450_Impact_of_Solid_Waste_on_Health_and_The_Environment
The World Bank. (2022). Trends in Solid Waste Management [Online]. [cited 2022 September 17]; Available from: https://datatopics.worldbank.org/what-a-waste/trends_in_solid_waste_management.html