สถานการณ์ขยะและการจัดการขยะที่ต้นทางในชุมชน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ขยะและการจัดการขยะที่ต้นทางในชุมชน เขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะที่ 1 พื้นที่ศึกษาเป็นชุมชนชนบทในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ผู้ร่วมดำเนินการวิจัย จำนวน 62 คน ประกอบด้วย ตัวแทนครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 30 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 32 คน ใช้แบบสอบถามข้อมูลเชิงคุณภาพในเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ขยะ โดยการเสวนากลุ่มและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย : 1) ด้านขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือนที่ต้องการจัด ต่อ 1 วัน พบว่า ขยะส่วนใหญ่เกิดจากการดำเนินชีวิต ประจำวัน ได้แก่ เศษอาหาร พลาสติก ขวดแก้ว กล่องโฟม และกระดาษ นอกจากนั้นพบขยะที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ทางการเกษตร ได้แก่ เศษใบไม้ กิ่งไม้ ขวดและกล่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2) ด้านการจัดการขยะที่ต้นทางในชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่ใช้วิธีการกกำจัดโดยกองขยะบนพื้นแล้วเผา น้อยสุด คือ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง นอกจากนั้นพบว่าส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ วิธีการในการจัดการขยะที่ต้นทางอย่างถูกวิธี 3) ด้านผลกระทบจากการจัดการขยะไม่เหมาะสม พบว่าส่วนใหญ่ได้รับผลกระ ทบต่อสุขภาพในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการไอ คัดจมูก วิงเวียนศีรษะจากการสัมผัสฝุ่นควันจากการเผาขยะ ผลกระทบด้านแวดล้อม ได้แก่ เศษขยะปลิวกระจัดกระจาย สุนัขคุ้ยเขี่ยขยะ มีสัตว์แมลงและพาหนะโรค ขยะอุดตันร่องระบายน้ำทิ้งขยะตามไร่ นา สวนและพื้นที่สาธารณะ 4) ด้านความต้องการการสนับสนุนและปัญหาอุปสรรค พบว่า ส่วนใหญ่มีวิธีการเรียนรู้วิธีการจัดการขยะที่ต้นทางอย่างถูกวิธีและต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนด้านทรัพยากร และร่วมกับหมู่บ้านในการกำหนดนโยบายการจัดการขยะที่ต้นทางอย่างชัดเจน ส่วนปัญหาอุปสรรค พบว่า ขาดการดำเนิน การจัดการขยะที่ต้นทางอย่างต่อเนื่องและถูกวิธีและประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอในการ จัดการขยะที่ต้นทางอย่างเหมาะสม
สรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนในการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ชุมชนในการจัดการขยะที่ต้นทางได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ ดีต่อไป
คำสำคัญ : ขยะ ,การจัดการขยะ
References
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุม มลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของ ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักการจัดการกากของเสียและสารอันตราย สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-16 สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด; 2560.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ชัย. รายงานผล การดำเนินงานประจำปี 2559 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัด มหาสารคาม; 2560.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564) [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 6 มิ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/ main.php? filename=index.
Suksawan Kamwong and Medta Talaluk. Ability to support and waste management in the tourist District of Phu Fa Nan. RMUTP. Research Journal Special Issue the 5th Rajamangala University of Technology National Conference; 2013.
ปภาวิน เหิดขุนทด. พฤติกรรมของประชาชนในการ จัดการขยะมูลฝอยในชุมชนขององค์การบริหาร ส่วนตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัด นครราชสีมา [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหา บัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี; 2554.
ชนิดา เพชรทองคำและคณะ. การบริหารจัดการขยะ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม; มปป.
รสนีย์ มณีวงศ์. การดูแลตนเองของแรงงานเก็บขยะ ตำบลโนนท่อน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
นพวรรณ ดวงหัสดี. ภาวะสุขภาพและโภชนาการของ ครอบครัวเก็บขยะในชุมชนแออัดเมืองขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหา บัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับ วิชาชีพพยาบาล. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานา วิทยา; 2558.
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิง คุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับ ลิชชิ่ง; 2550.
ดิษฐพล ใจซื่อ, เกษราวลัณ์ นลิวรางกรู. การดแูลตนเอง ของแรงงานเก็บขยะ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2560;35(1):37-45.
อารีย์ พลภูเมือง. พัฒนาระบบการคัดแยกขยะมูลฝอย ในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเขตเทศบาลตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ สาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(ฉบับพิเศษ):147-161.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม