การพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ตลาดชุมชนเมือง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ปฐมพร พริกชู วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • นัจมี หลีสหัด วท.ม. (การจัดการระบบสุขภาพ) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุม, โรคเลปโตสไปโรสิส, ตลาดชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ตลาดชุมชนเมือง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง กลุ่มเป้าหมาย คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาด คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวมทั้งสิ้น 66 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2563 ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์และกำหนดปัญหา 2. การจัดทำแผน 3. การนำแผนไปปฏิบัติ และ 4. การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบบันทึกผลการเฝ้าระวังสัตว์พาหะนำโรคเลปโตสไปโรสิส แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรค และแบบบันทึกการจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากกระบวนการมีส่วนร่วม โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การค้นหาปัญหาและการติดตามผลการดำเนินงานโดยใช้สถิติพรรณนา และการประเมินผลลัพธ์ใช้การทดสอบค่า t (Paired t-test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิสในตลาดชุมชนเมืองทุกขั้นตอน ร่วมแสดงความคิดเห็นตั้งแต่การวิเคราะห์และกำหนดปัญหาของพื้นที่ ตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานอย่างชัดเจน นำไปสู่การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ และมีการประเมินผล รวมถึงคืนข้อมูลผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาในระยะต่อไป ผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิส พบว่า จำนวนหนูในตลาดลดลง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาดมีคะแนนเฉลี่ยความความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองเรื่องโรคเลปโตสไปโรสิสหลังดำเนินกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร่วมกับการคืนข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและร่วมทบทวนวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์ในการลดความเสี่ยงโรคเลปโตสไปโรสิสของประชาชนในพื้นที่ชุมชนเมืองต่อไป

References

กลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2557). หนู การสำรวจประชากรและการควบคุม. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2558). คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรสิส. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2563). จำนวนและอัตราป่วย ตาย ต่อแสนประชากร แยกรายจังหวัด โรคเลปโตสไปโรสิส พ.ศ. 2558-2562. (เอกสารอัดสำเนา).

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง. (2561). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2561. (เอกสารอัดสำเนา).

ชมนาด พจนามาตร์, สมบูรณ์ จัยวัฒน์, สงกรานต์ ก้อนแก้ว และนงลักษณ์ จันทร์แก้ว. (2555). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการหมู่บ้านอาหารปลอดภัย. พยาบาลสาร, 39(1), 35-45.

พัชรา ผาณิบุศย์. (2554). การพัฒนากระบวนการจัดทำแผนชุมชนของเทศบาลเมืองหนองคาย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชชุดา วงศ์พานิชย์. (2565). การถ่ายทอดกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ้านหนองแค ตำบลหนองแค อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 74-92.

รุจา ภู่ไพบูลย์, สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และคณะ. (2555). กระบวนการพัฒนาสุขภาพพอเพียงในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(1), 28-38.

สมเกียรติ จินดา และเฉลิมพล ตันสกุล. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภพตำบลเก็บงา อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 1(2), 25-37.

สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2560). กรอบแนวคิดการศึกษาการวางแผนและการบริหารแผน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2), 389-411.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา. (2562). ผลการเฝ้าระวังเชื้อเลปโตสไปร่า การสำรวจความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส พื้นที่เขตเมือง จังหวัดตรัง พ.ศ.2562. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย. (2556). คู่มือ ตลาดสด น่าซื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุกฤษฏิ์ ใจจำนงค์, สุกัญญา นันทะ, คณิชา แจ่มจิต, บุหงา กาหลง และวิลาสินี บุญเพชร. (2563). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์และแมลงพาหะนำโรคในชุมชนตลาด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(3), 63-72.

สุนันท์ ขาวประพันธ์, ปรีย์กมล รัชนกุล และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2555). ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อพฤติกรรมของครอบครัวในการดูแลเด็กโรคหืด. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 108-121.

อนุชา ศิริมาลัยสุวรรณ. (2561). โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู (Leptospirosis). เชียงใหม่: สมพรการพิมพ์.

Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Bloom, B.S., Hastings, J.T. and Madaus, G.F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.

Crane, P., & O’Regan, M. (2010). On PAR: Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention [online]. [cited 2020 May 2]; Available from: https://eprints.qut.edu.au/34301/1/34301.pdf

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Evangelista, K. V., & Coburn, J. (2010). Leptospira as an emerging pathogen: a review of its biology, pathogenesis and host immune responses. Future Microbiology, 5(9), 1413-1425.

Gibbs, G. (1988). Learning by doing: a guide to teaching and learning methods. Oxford: Further Education Unit.

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.

Thaipadungpanit, J., Wuthiekanun, V., Chierakul, W. et al. (2007). A Dominant Clone of Leptospira interrogans Associated with an Outbreak of Human Leptospirosis in Thailand. PLOS Neglected Tropical Disease, 1(1), 1-6. [cited 2021 March 30]; Available from: https://journals.plos.org/plosntds/article/file?id=10.1371/journal.pntd.0000056&type=printable

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30