ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจ, การตั้งเป้าหมายร่วมกัน, ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน ที่มารับบริการ ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบจับฉลาก ตามเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 105 คน ศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเมษายน 2565 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ใช้ระยะเวลา 3 เดือน 2) แบบบันทึกเป้าหมายและกิจกรรมที่ตัดสินใจเลือก 3) ไวนิลไขมันในเลือด 4) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นทีมสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนให้มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
กิตติยาพร จันทร์ชม, ญาณี แสงสาย และบรรเทิง พลสวัสดิ์. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในครอบครัวและชุมชน: บทบาทสำคัญของพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 5(2), 12-24.
ดวงพร ผาสุวรรณ, วันเพ็ญ แวววีรคุปต์, จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ์, สุนีย์ เนตรภิญโญ, ศิริพร ฉายาทับ และศุภรัสมิ์ วิเชียรตนนท์. (2566). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการดูแลตนเองด้วยการตั้งเป้าหมายร่วมกับสามีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาล, 72(2), 31-40.
พรวิภา ยาสมุทร์, พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล, อรุณวดี โชตินันท์, วงจันทร์ นันทวรรณ, ภัทรภร วงศ์ใหญ่ และพิทักษ์ แก้วยองผาง. (2563). ผลของการใช้ชุดนวัตกรรมไวนิลคู่ใจ เพื่อไตแข็งแรง ต่อการชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะ 3, 4 โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. การประชุมวิชาการเขตสุขภาพที่ 1 ปี 2563 เขตสุขภาพที่ 1 ก้าวไกล นวัตกรรมและวิจัย เพื่อคนไทยสุขภาพดี; วันที่ 30 กรกฎาคม 2563; โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่.
เพ็ญศรี รอดพรม, นฤมล จันทร์สุข และนันตพร ทองเต็ม. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 300-312.
โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง. (2564). งานเวชระเบียน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง. (เอกสารอัดสำเนา).
โรงพยาบาลศิครินทร์. (2564). ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน – รู้หรือไม่?…เป็นเบาหวาน เสี่ยง! โรคอื่นเพิ่มอีก [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://www.sikarin.com/health/รู้หรือไม่-เป็นเบาหวาน.
โรงพยาบาลศิริราช. (2544). คณะกรรมการอัตรากำลัง ฝ่ายการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร.
วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย: นโยบาย สู่ การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุกฤตา ตะการีย์, ศากุล ช่างไม้ และสมพันธ์ หิญชีระนันท์. (2562). ผลลัพธ์ของการพยาบาลที่มีการตั้งเป้าหมายร่วมกันในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาล, 68(3), 48-55.
สุขศิริ ประสมสุข, ณฐกร นิลเนตร, พนัส ชัยรัมย์ และมารยาท ฉ่า มะนา. (2563). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตตำบลไร่สะท้อน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10(3), 4-15.
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.
Burns, N. and Grove, S. (2009) The practice of nursing research: Appraisal, synthesis and generation of evidence. (6th ed.). St. Louis, MO: Saunders Elsevier.
Gibson, C. H. (1991). A Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16, 354-361.
King, I. M. (1971). Toward a theory of nursing: General concepts of human behavior. New York: John Wiley & Sons.
King, I. M. (1981). A theory for nursing: Systems, concepts, process. New York: John Wiley & Sons.
Pilot, D.F., & Hungler, B.P. (1999). Nursing research: principles and methods (6th ed). Philadelphia: J.B Lippincott.