ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • เจษฎาภรณ์ สุธรรม ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง ส.ด. (พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อักษรา ทองประชุม ปร.ด. (สุขภาพระหว่างประเทศ) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ภาวะสุขภาพ, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีพระสงฆ์มากถึงสามแสนรูปที่มีปัญหาด้านสุขภาพ การวิจัยแบบผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านสุขภาพพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ที่อายุพรรษาตั้งแต่ 1 พรรษาขึ้นไป การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินภาวะสุขภาพ แบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบตามสะดวก จำนวน 127 รูป การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประเด็นพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 รูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์แบบอุปนัย และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับมากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง ความรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) สำหรับวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า พระสงฆ์ฉันอาหารพื้นบ้านประเภทผักต่างๆ ตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่ ออกกำลังกายตามกิจวัตรด้วยการบิณฑบาต ทำงานภายในวัด กวาดลานวัด มีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ และใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจัดการความเครียด ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ให้คลอบคลุมทั้งทางกายและทางใจ ส่งเสริมให้มีความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและบริบทพื้นที่ของพระสงฆ์

References

กรรณิการ์ ตั้งตุลานนท์. (2561). ครูบาวงศ์กับการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งตามแนวศีล 5. วารสาร มจรปรัชญาปริทรรศน์, 1(1), 56-68

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แบบประเมินความเครียด (ST5) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561]; แหล่งข้อมูล: https://dmh.go.th/test/qtest5/

กาญจนพงศ์ สุวรรณ, พระครูปลัดพีระพันธ์ ธมฺมวุฑฺโฒ และพระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2565). การเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ในสังคมชีวิตวิถีใหม่จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7(1), 44-58

คณะกรรมการสืบสานตำนานเมืองลี้. (2540). เอกสารประวัติเมืองลี้. จังหวัดลำพูน: ณัฐพนธ์การพิมพ์.

จงจิตร อังคทะวานิช และอารยา แสงเทียน. (2557). สื่อสงฆ์ไทย ไกลโรค : โภชนบูรณาการสู่วิถีสงฆ์ 4 ภูมิภาค. กรุงเทพมหานคร: ช่อระกาการพิมพ์.

ชลธิชา จิรภัคพงค์, ฉวีวรรณ สุวรรณาภา, ปุญยวีร์ มงคลพิพัฒน์พร และพัฒน์นรี อัฐวงศ์. (2562). สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(6), 1227-1247.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2560). สถานการณ์และการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาคณะสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 154-167.

ณัฐชนน ผุยนวล, นิสากร กรุงไกรเพชร และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(3), 42-51.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G* Power. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 496-507.

ปัณณธร ชัชวรัตน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัย). พะเยา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์. (2561). มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 07/2560 เรื่อง การดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561]; แหล่งข้อมูล: http://mahathera.onab.go.th/files/mati_doc/c_07200360_191%20การดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ.pdf

พระครูวินัยธรชาติชาย สมาจาโร (เชียงชะนา). (2561). พุทธวิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารวิจัยวิชาการ, 1(3), 81-97.

พระครูอินทวุฒิคุณ. (2562). บัญชีพระภิกษุ-สามเณร สังกัดทะเบียนวัด อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พ.ศ.2562. (เอกสารอัดสำเนา)

พระราชสิทธิเวที, พระสุธีรัตนบัณฑิต และเบญจมาศ สุขสถิตย์. (2562). สุขภาวะพระสงฆ์:การป้องกันและควบคุมโรค. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

พระราชสิทธิเวที, เบญจมาศ สุขสถิตย์, วโรดม เสมอเชื้อ และชมพูนุท สิงห์มณี. (2562). การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาวะภายใต้ภาวนา 4 ของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 15-27.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2556). สุขภาวะของพระสงฆ์ ปี 2555. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

พีระพล หมี่เอี่ยม และธนัช กนกเทศ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 1-12.

มนัญญา ภิรมย์. (2565). ความสัมพันธ์ของความเครียดและภาวะซึมเศร้าต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรง พยาบาล มหาสารคาม, 19(3), 125-136.

มินตรา สาระรักษ์, วรารัตน์ สังวะลี และวิลาศ คำแพงศรี. (2560). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 37-48.

ลลิลทิพย์ ธนสมบัตินันท์. (2559). พฤติกรรมการตักบาตรและถวายภัตตาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 23(3), 51-67.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติเพื่อสุขภาวะที่ดีถ้วนหน้า. วารสารก้าวใหม่หลักประกันสุขภาพ, 11(54), 12-13

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด - อสว.). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall.

Bloom, B.S., Hastings, T. J., Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10