ผลของการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพ และการสอนกลับต่อผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ปัญจขันธ์ ป.พย. โรงพยาบาลแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • อภิชาติ ใจใหม่ พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • กฤตพัทธ์ ฝึกฝน ปร.ด. (พยาบาลศาสตร์) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพยาบาลแบบการจัดการรายกรณี, การถาม 3 คำถามสุขภาพ, การสอนกลับ, เบาหวานชนิดที่ 2, ผลลัพธ์ทางคลินิก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ วิธีการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกระดับน้ำตาลสะสมในเลือด เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมน-วิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายดีกว่าก่อนทดลอง และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและเส้นรอบเอวดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยทั้งสองกลุ่มมีค่าดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ เป็นทางเลือกหนึ่งของวิธีการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและลดเส้นรอบเอวในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). เครื่องมือสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพ (Health Literacy Toolkit in Health Care Services). นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย, วรรณา ธนานุภาพไพศาล และจงกลนี ตุ้ยเจริญ. (2556). พฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยทองในเขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 39-50. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4747/4140

ปราณี จุลกศิลป์. (2566). ผลของการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 15(2), 49-64. [สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/257615/176268

รุ่งทิวา เสาวนีย์, พัชระกรพจน์ ศรีประสาร, พัทสิมา ภัทรธีรานนท์ และนิภาวรรณ ศรีโยหะ. (2566). การพัฒนาแนวทางการจัดการรายกรณีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนเขตเมือง กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาซอยสวนเงิน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 29(1), 88-100. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramanursej/rnj-v29-no1-jan-apr-2023-07

วิจิตรา แพงขะ. (2560). ประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระยะ 2-4 ด้วยการจัดการรายกรณี เครือข่ายโรงพยาบาลน้ำหนาว อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(3), 405-414. [สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/170550/122586

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2565). รายงานตามตัวชี้วัดในระดับ NCD ClinicPlus ปี 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://pyo.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022&source=pformated/format1.php&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566]; แหล่งข้อมูล: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/

ศุภลักษณ์ ชายบุญแก้ว. (2564). ผลการชะลอเบาหวานในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง ร่วมกับการสนทนาสร้างแรงจูงใจ โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(4), 661-667. [สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/10607/9343

อภิชาติ ใจใหม่ และกฤตพัทธ์ ฝึกฝน. (2561). การพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 19(2), 17-28.

อุบลรัตน์ รัตนอุไร และประภาส สงบุตร. (2562). ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(ฉบับพิเศษ), 146-151. [สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/7172

Chaimai, A., Piaseu, N., & Mekwiwatanawong, C. (2017). Effects of nursing case management of Buddhist monks at risk for type 2 diabetes: A randomized controlled trial. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 21(4), 305-316.

Dedefo, M. G., Abate, S. K., Ejeta, B. M., & Korsa, A. T. (2020). Predictors of poor glycemic control and level of glycemic control among diabetic patients in west Ethiopia. Annals of Medicine and Surgery, 55, 238-243. [cited 2023 July 20]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7283090/

International Diabetes Federation. (2022). Diabetes around the world in 2021 [online]. [cited 2022 July 9]; Available from: https://diabetesatlas.org/

Ji, H., Chen, R., Huang, Y., Li, W., Shi, C., & Zhou, J. (2019). Effect of simulation education and case management on glycemic control in type 2 diabetes. Diabetes/Metabolism Research and Reviews, 35(3), e3112. [cited 2023 June 16]; Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/dmrr.3112

Knight, M. G., Anekwe, C., Washington, K., Akam, E. Y., Wang, E., & Stanford, F. C. (2021). Weight regulation in menopause. Menopause, 28(8), 960-965. [cited 2023 July 18]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8373626/

Mullahy, C. M. & Jensen, D. K. (2004). The Case Manager's Handbook. (3rd ed.). Massachusetts: Jones and Bartlett.

Oba, N., Barry, C. D., Gordon, S. C., & Chutipanyaporn, N. (2020). Development of a nurse-led multidisciplinary based program to improve glycemic control for people with uncontrolled diabetes mellitus in a community hospital, Thailand. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 24(3), 349-362.

Rasheed, M., Islam, N., & Mahjabeen, W. (2015). Factors associated with uncontrolled type 2 diabetes mellitus. Journal of Islamabad Medical and Dental College, 4(2), 68-71. [cited 2023 July 20]; Available from: https://jimdc.org.pk/jimdc/Volumes/4-2/Factors%20Associated%20with%20Uncontrolled%20Type%202%20Diabetes%20Mellitus.pdf

Sukchaisong, N., Pichayapinyo, P., Lagampan, S., Saslow, L. R., & Aikens, J. E. (2022). Effectiveness of the mindfulness-based diabetes self-and family management support program among adults with uncontrolled diabetes: A randomized controlled trial. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 26(3), 517-532.

Supachaipanichpong, P., Vatanasomboon, P., Tansakul, S., & Chumchuen, P. (2018). An education intervention for medication adherence in uncontrolled diabetes in Thailand. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 22(2), 144-155.

Talevski, J., Wong Shee, A., Rasmussen, B., Kemp, G., & Beauchamp, A. (2020). Teach-back: A systematic review of implementation and impacts. PloS one, 15(4), e0231350. [cited 2023 May 1]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7156054/

Tunsuchart, K., Lerttrakarnnon, P., Srithanaviboonchai, K., Likhitsathian, S., & Skulphan, S. (2020). Benefits of brief group cognitive behavioral therapy in reducing diabetes-related distress and HbA1c in uncontrolled type 2 diabetes mellitus patients in Thailand. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(15), 5564. [cited 2023 June 3]; Available from: https://www.mdpi.com/1660-4601/17/15/5564

Welch, G., Garb, J., Zagarins, S., Lendel, I., & Gabbay, R. A. (2010). Nurse diabetes case management interventions and blood glucose control: results of a meta-analysis. Diabetes Research and Clinical Practice, 88(1), 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10