ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

ผู้แต่ง

  • สิทธิพร เพชรทองขาว ปร.ด. (ชีวเคมี) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อัญชิสา สุขบาล วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ธีราพร สังข์รอด วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ฐิตินันท์ ชูเมฆ วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว จำนวน 33 คน คัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้ การให้ชมสื่อวีดิทัศน์ การสาธิต การร่วมอภิปราย และการเยี่ยมติดตาม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.1ย. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนต่างๆ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired samples t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติตนที่ดี การรับรู้อุปสรรคในการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด การรับประทานยา และการกระทำกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานในระบบบริการเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพดี [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/tinymce/KPI2564/KPI119/25640111922.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560-2564) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020

ฐิติมา โกศัลวิตร, กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, นฤมล บุญญนิวารวัฒน์ และธิดารัตน์ ศรีธรรมา. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 26–37.

นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว, พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน และศรินญาภรณ์ จันทร์ดีแก้วสกุล. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย. และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(2), 83-95.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ และกิ่งแก้ว สำรวยรื่น. (2563). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(3), 149-160.

เนาวรัตน์ ศักดา, เพลินตา เรืองสูง, ยุวดี วิทยพันธ์, อติญาณ์ ศรเกษตริน และสุทธานันท์ กัลกะ. (2559). ผลของการให้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กรณีศึกษา ศูนย์สุขภาพชุมชนโพหวาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 32(1), 57-67. [สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/64276/52737

บุญฤทธิ์ เฮ็งไล้. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารราชนครินทร์, 13(30), 151-160. [สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: http://academic.rru.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/15-บุญฤทธิ์.pdf

มุกดา นิ่มบัวทอง. (2558). พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ. ฉะเชิงเทรา:มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ. (2564a). ข้อมูลการติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของรพ.สต. บ้านทำเนียบ พ.ศ. 2564. (เอกสารอัดสำเนา)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ. (2564b). พฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของ รพ.สต. บ้านทำเนียบ พ.ศ. 2564. (เอกสารอัดสำเนา)

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.

สุรากรี หนูแบน, อารยา ปรานประวิตร และสาโรจน์ เพชรมณี. (2559). ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 101-114. [สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96472

American Diabetes Association Professional Practice Committee. (2022). 5. Facilitating behavior change and well-being to improve health outcomes: standards of medical care in diabetes-2022. Diabetes Care, 45 (Supplement_1), S60-S82. [cited 2022 March 29]; Available from: https://doi.org/10.2337/dc22-S005

Bodenheimer, T., & Handley, M. A. (2009). Goal-setting for behavior change in primary care: an exploration and status report. Patient education and counseling, 76(2), 174-180. [cited 2022 May 11]; Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0738399109002432

Chawla, S. P. S., Kaur, S., Bharti, A., et al. (2019). Impact of health education on knowledge, attitude, practices and glycemic control in type 2 diabetes mellitus. Journal of family medicine and primary care, 8(1), 261-268. [cited 2022 May 11]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6396605/

Glanz, K., Rimer, B. K. & Viswanath, K. (2008). Health Behavior and Health Education: Theory, Research, and Practice. (4th ed.). San Francisco: John Wiley & Sons.

Hung, N. V., Chamroonsawasdi, K., Vatanasomboom, P., & Chottanapund, S. (2020). Effectiveness of a family support coaching program on diabetes mellitus self-management to improve health outcomes among Thai patients with uncontrolled type 2 diabetes: a quasi-experimental study. Journal of Public Health and Development, 18(3), 64-83. [cited 2022 May 9]; Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/AIHD-MU/article/view/243181

Khosravizadeh, O., Ahadinezhad, B., Maleki, A., Vosoughi, P., & Najafpour, Z. (2021). Applying the health belief model and behavior of diabetic patients: A systematic review and meta-analysis. Clinical Diabetology, 10(2), 209-220. [cited 2022 May 12]; Available from: https://journals.viamedica.pl/clinical_diabetology/article/view/72300

Ku, G. M. V., & Kegels, G. (2015). Knowledge, attitudes and perceptions of people with type 2 diabetes as related to self-management practices: Results of a cross-sectional study conducted in Luzon, Philippines. Chronic Illness, 11(2), 93-107. [cited 2022 May 11]; Available from: https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/1742395314538291

Mariye, T., Tasew, H., Teklay, G., Gerensea, H., & Daba, W. (2018). Magnitude of diabetes self-care practice and associated factors among type two adult diabetic patients following at public Hospitals in central zone, Tigray Region, Ethiopia, 2017. BMC Research Notes, 11, 1-6. [cited 2022 May 12]; Available from: https://link.springer.com/article/10.1186/s13104-018-3489-0

Melkamu, L., Berhe, R., & Handebo, S. (2021). Does patients’ perception affect self-care practices? The perspective of health belief model. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity, 14, 2145-2154. [cited 2022 May 12]; Available from: https://www.tandfonline.com/doi/full/10.2147/DMSO.S306752

Singh, A., Niranjan, A. S., Singh, A., Meena, S., & Sial, S. (2021). Effectiveness of an Educational Intervention via Health Belief Model in Promoting Self Care Behavior in Type II Diabetes Mellitus Patients in Lucknow Province of Uttar Pradesh, India: Randomized Controlled Trial. International Journal of Contemporary Medical Research, 8(2), B22-B27.

Pamungkas, R. A., & Chamroonsawasdi, K. (2020). Self-management based coaching program to improve diabetes mellitus self-management practice and metabolic markers among uncontrolled type 2 diabetes mellitus in Indonesia: A quasi-experimental study. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews, 14(1), 53-61. [cited 2022 May 11]; Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1871402119305831

Pamungkas, R. A., Chamroonsawasdi, K., & Vatanasomboon, P. (2017). A systematic review: family support integrated with diabetes self-management among uncontrolled type II diabetes mellitus patients. Behavioral Sciences, 7(3), 62. [cited 2022 May 11]; Available from: https://www.mdpi.com/2076-328X/7/3/62

Pamungkas, R. A., Chinnawong, T., & Kritpracha, C. (2015). The effect of dietary and exercise self-management support program on dietary behavior exercise behavior and clinical outcomes in Muslim patients with poorly controlled type 2 DM in a community setting in Indonesia. Nurse Media Journal of Nursing, 5(1), 1-14.

Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-386.

Sapra, A., & Bhandari, P. (2021). Diabetes Mellitus [online]. [cited 2022 March 29]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK551501/

World Health Organization. (2022). Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) Analysis Guide [online]. [cited 2022 March 29]; Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/ncds/ncd-surveillance/gpaq-analysis-guide.pdf?sfvrsn=1e83d571_2

Zareban, I., Karimy, M., Niknami, S., Haidarnia, A., & Rakhshani, F. (2014). The effect of self-care education program on reducing HbA1c levels in patients with type 2 diabetes. Journal of Education and Health Promotion, 3, 1-7. [cited 2022 May 11]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4275624/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10