การศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานวัณโรค ก่อนและหลังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ฉัตรศิริ พิสิษฐ์กุล วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
  • สมภพ เมืองชื่น พ.บ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
  • อภิรุจี เกนทา ส.ม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

วัณโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การคัดกรองเชิงรุก

บทคัดย่อ

 การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานวัณโรคก่อนและหลังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้านการคัดกรองค้นหาเชิงรุกและด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิผู้ป่วยวัณโรคจากโปรแกรมข้อมูลรายงานวัณโรคของประเทศไทย ที่ขึ้นทะเบียนรักษาปี 2562 จำนวน 333 ราย และ ปี 2565 จำนวน 234 ราย และศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องงานวัณโรค ในช่วงการระบาดโรค COVID-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานวัณโรคก่อนและหลังการระบาดของโรค COVID-19 โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล ก่อนการระบาด (ปี 2562) และ หลังการระบาด (ปี 2565) พบว่า ด้านการคัดกรองเชิงรุกด้วยวิธีถ่ายภาพรังสีทรวงอกในกลุ่มเสี่ยง ลดลงจาก ร้อยละ72.27 เป็นร้อยละ 55.78 การขึ้นทะเบียนรักษาผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท ลดลงจาก ร้อยละ 11.41 เป็นร้อยละ 7.18 ด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่า ผู้ป่วยได้รับการตรวจเสมหะเมื่อสิ้นสุดการรักษา ลดลง จากร้อยละ 66.07 เป็นร้อยละ 47.86 ซึ่งในช่วงมีการระบาดโรค COVID-19 การคัดกรอง ค้นหาและติดตามผู้ป่วยได้ ทำได้ร้อยละ 45.95 ได้รับการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณเหมือนช่วงที่ไม่มีการระบาดฯ ร้อยละ 47.22 ตามลำดับ จึงได้มีการลดจำนวนผู้รับบริการ ลดระยะเวลาให้บริการ รวมทั้งลดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทำไห้ผลการดำเนินงานหลังการระบาดฯ ลดลง โดยเฉพาะด้านการคัดกรองเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ทำให้เข้าถึงการวินิจฉัยและรักษาล่าช้า อาจส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรควัณโรค ดังนั้นควรมีการให้บริการวัณโรคให้ครอบคลุมทุกด้าน หากเกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ตัวชี้วัดที่ 025:อัตราสำเร็จการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2563

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์[ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล:

https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2565). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์พื้นที่ ฯ ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: http://www.pyomoph.go.th/index_sub.php?id_group=6&page=9

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางการดำเนินงานวัณโรคในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ .

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2561(National Tuberculosis Control Programme Guidelines : NTP GUIDELINES,2018). กรุงเทพมหานคร: กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564a). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรค ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค.(2564b) แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-2564 (เพิ่มเติม พ.ศ.2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 69 ง. หน้า 1

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2565). แบบรายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2565 ประเด็นที่ 3 Area Base หัวข้อ Service Plan TB จังหวัดพะเยา รอบที่ 1/ 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

เสาวนีย์ วิบุลสันติ. (2565). รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินงานวัณโรคเขตสุขภาพที่ 1 เชียงใหม่ นำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย. (เอกสารอัดสำเนา).

อุษณีย์ อึ้งเจริญ และคณะ. (2563). รายงานโครงการผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อผลการดำเนินงานวัณโรคในประเทศไทย (The impact of Corona Virus Disease 2019 (COVID-19) outbreak on TB Control outcomes, Thailand). (เอกสารอัดสำเนา)

Jeong, Y., & Min, J. (2023). Impact of COVID-19 pandemic on tuberculosis preventive services and their post-pandemic recovery strategies: a rapid review of literature. Journal of Korean Medical Science, 38(5), 1-17. [cited 2024 June 10]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9902666/

Aznar, M. L., et.al (2021). Impact of the COVID-19 pandemic on tuberculosis management in Spain. International Journal of Infectious Diseases, 108, 300-305. [cited 2024 June 10]; Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1201971221003878

Hasan, T., et.al (2022). Retrospective cohort study of effects of the COVID-19 pandemic on tuberculosis notifications, Vietnam, 2020.

Emerging infectious diseases, 28(3), 684-692. [cited 2024 June 10]; Available from: https://doi.org/10.3201/eid2803.211919

Ozdemir, S., Oztomurcuk, D., & Oruc, M. A. (2022). Impact of the COVID-19 pandemic on tuberculosis patients and tuberculosis control programs in Turkey, review and analysis. Archives of Public Health, 80(1), 1-8. [cited 2024 June 10]; Available from: https://doi.org/10.1186/s13690-022-01007-w

World Health Organization. (2021). Global tuberculosis report 2021. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28