การวิเคราะห์การกระจายของสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกี เพื่อการเฝ้าระวังควบคุมโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ปี 2557 – 2564

ผู้แต่ง

  • อรัญญา ภิญโญรัตนโชติ วท.ม. (จุลชีววิทยา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค
  • มนต์ชนก เต็มภาชนะ วท.ม. (จุลชีววิทยา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค
  • ณิฎฐา เสนาพงศ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปากประยุกต์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ซีโรทัยป์, ไวรัสเดงกี, การกระจาย, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแพร่กระจายสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกีเพื่อการเฝ้าระวังโรค ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต โดยใช้ข้อมูลผลการตรวจสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกีด้วยวิธี Real-Time RT-PCR และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากตัวอย่างทั้งหมด 2,421 ราย ที่ส่งตรวจในช่วงปี พ.ศ. 2557 – 2564 ผลการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีตัวอย่างที่ให้ผลบวก จำนวน 1,220 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.39 สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเดงกีที่พบสูงสุดคือ DEN-1 จำนวน 492 ราย รองลงมาคือ DEN-2 จำนวน 370 ราย DEN-4 จำนวน 304 ราย และ DEN-3 จำนวน 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.32, 30.33, 24.92 และ 4.43 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์แยกรายจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด พบสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกีเป็น DEN-1 สูงสุด เช่นเดียวกันเมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกี พบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 2-3 ปี เดือนที่ตรวจพบเชื้อไวรัสเดงกีสูงสุดคือเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม โดยการระบาดปี 2561 มี DEN-2 และ DEN-1 สัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 50 และร้อยละ 43 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงในระดับจังหวัดนำไปสู่การป้องกันควบคุมโรค
ในลำดับต่อไป

References

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2564). สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลาย และการประเมินความเสี่ยงต่อการระบาดในปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1212820211229113331.pdf

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2565). การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล:https://www.bangsailocal.go.th/post/000000646-49072e7f4cbf65ab30b884437f5fbda6.pdf

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2566). สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยแมลง ประเทศไทย ปี พ.ศ.2566 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ15 ธันวาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/dvb/pagecontent.php?page=1269&%20dept=dvb

ชวลิต เกียรติวิชชุกุล, วัชรินทร์ ศรีสกุล และจิราพร ศรีสกุล. (2560). สายพันธุ์ของไวรัสเดงกีในเขตสุขภาพที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ.2555 ถึง พ.ศ.2559. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 59(3), 199-208. [สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241155

ดารินทร์ อารีย์โชคชัย. (2562). โรคติดเชื้อเดงกี (ไข้เดงกี ไข้เลือดออกเดงกี ไข้เลือดออกช็อกเดงกี). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค สํานักระบาดวิทยา. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.

พรรณราย วีระเศรษฐกุล. (2561). การเฝ้าระวังซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกีใน 4 จังหวัดของเขตภาคเหนือตอนบน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ19 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www3.dmsc. moph.go.th/annual_report/pdf/2561/61-1.pdf

โรงพยาบาลพญาไท. (2566).7 FACTS ที่ต้องรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออก [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567];แหล่งข้อมูล: https://www.phyathai.com/th/article/article-dengue-7facts-pt3

วรารัตน์ แจ่มฟ้า และคณะ. (2564). การติดตามการเปลี่ยนแปลงของเชื้อเดงกีในจังหวัดราชบุรีและลำปาง ปี พ.ศ. 2561-2563. การประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 29 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ19 เมษายน 2567]. แหล่งข้อมูล: nih.dmsc.moph.go.th

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ และคณะ. (2548) แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567]. แหล่งข้อมูล: http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2548/04.pdf

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, จรณิต แก้วกังวาน และสุภาวดี พวงสมบัติ. (2558). การติดเชื้อและอาการแสดง. ใน:สุภาวดี พวงสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราวรณ์ เอมะรุจิ, ศรัณรัชต์ ชาญประโคน. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้าน การแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 16-23.

Gubler, D. J. (1998). Dengue and dengue hemorrhagic fever. Clinical microbiology reviews, 11(3), 480-496.

Cattarino, L., Rodriguez-Barraquer, I., Imai, N., Cummings, D. A., & Ferguson, N. M. (2020). Mapping global variation in dengue transmission intensity. Science Translational Medicine, 12(528), 1-10. [cited 25 November 2022]; Available from: https://www.science.org/doi/epdf/10.1126/scitranslmed.aax4144

Torres-Flores, J. M., Reyes-Sandoval, A., & Salazar, M. I. (2022). Dengue vaccines: an update. BioDrugs, 36(3), 325-336. [cited 25 November 2022]; Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/s40259-022-00531-z

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28