สายพันธุ์ของไวรัสเดงกีในเขตสุขภาพที่ 2 ระหว่าง ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง

  • ชวลิต เกียรติวิชชุกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วัชรินทร์ ศรีสกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จิราพร ศรีสกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Dengue virus serotypes, RT-PCR technique

บทคัดย่อ

       โรคติดเชื้อไวรัสเดงกีเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำ คัญของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังและควบคุม โดยมียุงลาย (Aedes spp.) เป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คน เชื้อไวรัสเดงกีทุกซีโรทัยป์ ได้แก่ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 สามารถก่อโรคและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศ การศึกษานี้ใช้เทคนิค Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) เพื่อวิเคราะห์ซีโรทัยป์ของไวรัสเดงกีที่แพร่กระจายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และตาก โดยการเก็บตัวอย่างพลาสมาของผู้ป่วยในระยะเฉียบพลัน ที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าติดเชื้อไวรัสเดงกี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนธันวาคม 2559 จากการศึกษาทั้งหมด 1,284 ตัวอย่าง พบผลบวกต่อสารพันธุกรรมของไวรัสเดงกี 696 ตัวอย่าง (ร้อยละ 54.2) โดยพบเป็น DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 จำนวน 148, 177, 276 และ 95 ตัวอย่าง ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 11.5, 13.8, 21.5 และ 7.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ตรวจพบทุกซีโรทัยป์ได้ตลอดปี และในอัตราที่สูงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปีที่ศึกษา โดยกลุ่มช่วงอายุ 15 – 24 ปี มีอัตราผลบวกสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น ผลการศึกษานี้แสดงว่าเขตสุขภาพที่ 2 มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกีทุกซีโรทัยป์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงของอาการทางคลินิกเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อซ้ำ การเฝ้าระวังสายพันธุ์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อจะได้ข้อมูลนำไปสู่การวางแผนป้องกันและการเตรียมความพร้อมหากเกิดการระบาดในพื้นที่

References

Gubler DJ. Dengue. In: Monath TP, editor. The arboviruses: epidemiology and ecology, Vol. II. Boca Raton, FL: CRC Press; 1988. p. 223-260.

World Health Organization. Dengue haemorrhagic fever: diagnosis, treatment, prevention and control. 2nd ed. Geneva: WHO; 1997.

Monath TP. Flaviviruses. In: Fields BN, Knipe DM, editors. Virology, Vol. 1. 2nd ed. New York: Raven Press, 1990. p. 763-814.

Bureau of Epidemiology, Ministry of Public Health. Annual epidemiological surveillance report 2003. Nonthaburi, Thailand: Department of Disease Control; 2003.

Pancharoen C, Kulwichit W, Tantawichien T, Thisyakorn U, Thisyakorn C. Dengue infection: a global concern. J Med Assoc Thai 2002; 85 (Suppl 1): S25-33.

ชิษณุ พันธุ์เจริญ. โรคไข้เลือดออก. ใน : พรรณพิศ สุวรรณกูล, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, ศศิธร ลิขิตนุกูล, บรรณาธิการ. Current practice in common infectious diseases. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย; 2546. หน้า 215-238.

อุษา ทิสยากร. ไวรัสเดงกี : แรงจูงใจในการวิจัย. ใน : นลินี อัศวโภคี, สุรภี เทียนกริม, สมบัติ ลีลามสุภาศรี, บรรณาธิการ. โรคติดเชื้อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2537. หน้า 1-15.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2520-2541.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, สุภาวดี พวงสมบัติ. การติดเชื้อ อาการและอาการแสดง. ใน : สุภาวดี พวงสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจ, ศรัณรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558. นนทบุรี : สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค; 2558. หน้า 16-23.

Yenchitsomanus PT, Sricharoen P, Jaruthsana I, Pattanakitsakul SN, Nitayaphan S, Mongkolsapaya J, et al. Rapid detection and identification of dengue viruses by polymerase chain reaction(PCR). Southeast Asian J Trop Med Public Health 1996; 27(2): 228-36.

Sa-ngasang A, Wibulwattanakij S, Chanama S, O-rapinpatipat A, A-nuegoonpipat A, Anantapreecha S, et al. Evaluation of RT-PCR as a tool for diagnosis of secondary dengue virus infection. Jpn J Infect Dis 2003; 56(5-6): 205-9.

Vaughn DW, Green S, Kalayanarooj S, Innis BL, Nimmannitya S, Suntayakorn S, et al. Dengue viremia titer, antibody response pattern, and virus serotype correlate with disease severity. J Infect Dis 2000; 181: 2-9.

Kalayanarooj S, Nimmannitya S. Clinical and laboratory presentations of dengue patients with different serotypes. Dengue Bull 2000; 24: 53-9.

Wang WK, Chao DY, Kao CL, Wu HC, Liu YC, Li CM, et al. High levels of plasma dengue viral load during defervescence in patients with dengue hemorrhagic fever: implications for pathogenesis. Virology 2003; 305(2): 330-8.

Gubler DJ. Dengue and dengue hemorrhagic fever. Clin Microbiol Rev 1998; 11(3): 480-96.

Pancharoen C, Thisyakorn U, Thisyakorn C. Dengue infection. J Infect Dis Antimicrob Agents 2001; 18(3): 115-21.

Nisalak A, Endy TP, Nimmannitya S, Kalayanarooj S, Thisyakorn U, Scott RM, et al. Serotypespecific dengue virus circulation and dengue disease in Bangkok, Thailand from 1973 to 1999. Am J Trop Med Hyg 2003; 68(2): 191-202.

คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. สถานการณ์และแนวโน้มของโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีในประเทศไทย. ใน : ชิษณุ พันธุ์เจริญ, วันล่า กุลวิชิต, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, อุษา ทิสยากร, บรรณาธิการ. ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : หจก. เพนตากอนแอ็ดเวอร์ไทซิ่ง; 2546. หน้า 11-14.

Chareonsook O, Foy HM, Teeraratkul A, Silarug N. Changing epidemiology of dengue hemorrhagic fever in Thailand. Epidemiol Infect 1999; 122(1): 161-6.

Ooi EE, Goh KT, Wang DNC. Effect of increasing age on the trend of dengue and dengue hemorrhagic fever in Singapore. Int J Infect Dis 2003; 7(3): 231-2.

จรณิต แก้วกังวาล, จิระพัฒน์ เกตุแก้ว, ธีราวดี กอพยัคฆินทร. ระบาดวิทยา. ใน : สุภาวดี พวงสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจ, ศรัณรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558. นนทบุรี : สำนักโรคติดต่อ นำโดยแมลง กรมควบคุมโรค; 2558. หน้า 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2017

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)