จริยธรรมการตีพิมพ์
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. รับรองว่าเป็นบทความใหม่ที่ยังไม่ได้เผยแพร่ และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารใด ข้อมูลทั้งหมดเกิดขึ้นจริง
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. ต้องอ้างอิงบทความของผู้อื่นที่นำมากล่าวในผลงานของตน
4. ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน
5. ระบุว่าผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยชุดใดบ้าง และเมื่อไร ถ้าหากไม่มี ต้องชี้แจง
6. แจ้งกองบรรณาธิการทราบ หากพบข้อผิดพลาดที่มีนัยสำคัญในบทความ/การศึกษา เพื่อทำการแก้ไขหรือถอดถอนบทความ
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ส่งความเห็นตามกำหนดเวลาและให้ข้อมูลที่ละเอียดชัดเจน
2. เสนอแนะผลงานวิจัยที่สำคัญและเกี่ยวข้องแต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างอิง
3. รักษาความลับของเนื้อหา ข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณา โดยไม่เปิดเผยต่อผู้ไม่เกี่ยวข้อง
4. แจ้งกองบรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆหากไม่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบทความ
5. ตรวจสอบ และแจ้งกองบรรณาธิการหากพบว่ามีการคัดลอกผลงาน (plagiarism)
6. ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับคณะผู้นิพนธ์
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับคณะผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และคณะผู้บริหาร
2. คัดเลือกผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบทความ
3. ต้องเก็บข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความเป็นความลับ
4. ตัดสินใจคัดเลือกบทความที่ผ่านกระบวนการประเมินและพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนในหลักฐานสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร
5. หากมีหลักฐานแสดงการคัดลอกผลงานผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อให้ผู้นิพนธ์ส่งคำชี้แจง เพื่อประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้นๆ