ประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การรับรู้ความรุนแรงของโรค, การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค, ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อโรค, พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 รวมทั้งสิ้น 8 เดือน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ 2) แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต โดยวัดผลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวัง ในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกลุ่มทดลองมีค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและขณะหัวใจคลายตัวลดลงอยู่ในระดับที่ดีขึ้น ดังนั้น เครือข่ายสุขภาพสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่อไป
References
คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากผู้ที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ BP at risk (กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?
cat_id=%20b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=e0d72f9ec9848a10b70f5872bb6830e8
จุฑามาศ แก้วจันดี, พัชราภรณ์ ไกรนรา, วีระชน หวังสวัสดิ์ และนิชชนันท์ บุญสุข. (2566). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 19(1), 11-25. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/261418
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ และสราญรัตน์ ลัทธิ. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/blood/knowlage/14.pdf
พิเชษฐ์ หอสูติสิมา. (2562). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา, 25(2), 56-66. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/189558/147462
มิตรธิรา แจ่มใส และธิติรัตน์ ราศิริ. (2566). ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 6(1), 58-69. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/263778/179830
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจน. (2566). รายงานผลการคัดกรองตรวจสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564-2565. (เอกสารอัดสำเนา)
วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงใน ประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
วิไลวรรณ ภูศรีเทศ. (2564). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. (2560). การปฏิบัติสมาธิเอสเคทีเพื่อการเยียวยา. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญ พาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
Asep, S., & Suharmanto, S. (2021). Health Belief Model and Hypertension Prevention. Indian Journal of Forensic Medicine & Toxicology, 15(3), 2054-2059. [cited 2023 July 30]; Available from: http://repository.lppm.unila.ac.id/33396/1/20.pdf
Asnaniar, W., Tuanany, R., Samsualam, S., & Munir, N. (2021). Self-Efficacy In Patients With Hypertension. Jurnal Aisyah : Jurnal Ilmu Kesehatan, 6, 109-114. [cited 2023 July 24]; Available from: https://doi.org/10.30604/jika.v6iS1.770
Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.
Best, J.W., & Kahn, J.V. (1997). Research in Education. (8th ed). Boston: Allyn & Bacon.
Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.
Janz, N.K. , & Becker, M.H. (1984). The Health Belief Model: A Decade Later. Health Education Quarterly, 11(1), 1-47. [cited 2023 July 24]; Available from: https://doi.org/10.1177/109019818401100101
Nurhandiya, V., Yani, D., & Shalahuddin, I. (2020). Precautionary complications on hypertension with Health Belief Model (HBM) approach: A descriptive study of health center community in The Garut Region of Indonesia. Jurnal Aisyah : Jurnal Ilmu Kesehatan, 5(1), 75-80. [cited 2023 July 24]; Available from: https://doi.org/10.30604/jika.v0i0.274
Oyerinde, O. O., Okesiji, I. O., & Amosu, A. M. (2023). Effect of Health-Education Intervention on Knowledge Level and Motivation of Hypertension Prevention among Pre-Hypertensive Market Traders in Lagos State. NIU Journal of Social Sciences, 9(2), 215-226. [cited 2023 July 24]; Available from: https://doi.org/10.58709/niujss.v9i2.1642
Rogers, R.W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change1. The Journal of Psychology, 91(1), 93-114.
Rogers, R.W. (1983). Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A Revised theory of protection motivation. In: Cacioppo, J. & Petty, R. (Eds.). Social Psychophysiology. New York: Guilford Press. 153-177.