ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ของเกษตรกรก่อนวัยสูงอายุ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สุรางค์รัตน์ พ้องพาน วท.ด. (ระบาดวิทยาคลินิก) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, หน่วยวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จุฑามาศ สิงห์แก้ว ส.ม. (สาธารณสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน) * นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
  • สยัมภู ใสทา ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม, พฤฒพลัง, เกษตรกรก่อนวัยสูงอายุ

บทคัดย่อ

ประชากรสูงอายุไม่เพียงแต่เผชิญกับการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินแต่ยังต้องเผชิญกับการตามให้ทันเทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สังคม และปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพกายและจิตใจ การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเตรียมความพร้อม และปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของเกษตรกรก่อนวัยสูงอายุกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกร อายุ 50-59 ปี คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากฐานข้อมูลของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปี 2565 จำนวน 316 คน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังด้วยสถิติ Multivariable ordinal logistic regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.96 มีทัศนคติต่อการสูงวัยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.82 การรับรู้ความสามารถของตนต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.58 และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 86.39 ปัจจัยที่สามารถทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ได้แก่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป (AOR=3.97, 95% CI=1.04-15.21, p<0.05) อายุ 50-54 ปี (AOR=1.82, 95% CI=1.05-3.17, p<0.05) การรับรู้ความสามารถของตนต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุระดับสูง (AOR=21.73, 95% CI=2.69-175.26, p<0.05) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับสูง (OR=22.97, 95% CI=6.311-83.65, p<0.05) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรมีการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-54 ปี โดยเน้นเรื่องการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). แผนปฏิบัติราชการ แผนบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ปีงบประมาณ 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.dop.go.th/download/implementation/th1615194464-1325_0.pdf

จันทร์จิรา อยู่วัฒนา, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และพรนภา หอมสินธุ์. (2560). ปัจจัยทำนายการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้องรังในเขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 69-81. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/96558/75328

ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของ ประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 131-143. [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/230791/157081

นเรศักดิ์ แก้วห้วย, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, เรวดี เพชรศิราสัณห์ และจุฑารัตน์ สถิรปัญญา. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 172-185. [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565]; แหล่งข้อมูล:

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/255503/174711

นวรัตน์ จั่นเพชร. (2558). การเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ของกรมควบคุมโรค.

สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. ปทุมธานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5405034330_4939_3742.pdf

นันต์ธิญา ภู่คุ้ม, ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย และสุพัทธ แสนแจ่มใส. (2564). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลังของผู้ใหญ่ตอนต้น: กรณีศึกษาบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(2), 147-163. [สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so05.tcithaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/251215/170984

พิพัฒน์ ลักษมีจรัญกุล, กิติพงษ์ หาญเจริฐ และอรวรรณ แก้วบุญชู. (2558). วิถีชีวิตสุขภาพของ เกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สงขรานครินทร์เวชสาร, 33(2), 73-82. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: http://smj.medicine.psu.ac.th/index.php/smj/article/view/49/50

ภาณุวัฒน์ มีชะนะ, ณิชชาภัทร ขันสาคร, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวีวรกุล และเพ็ญศรี พิชัยสนิธ. (2560).การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 259-271. [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/74350/68165

วชากร นพนรินทร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2559

วิไลพร วงค์คีนี, โรจนี จินตนาวัฒน์ และกนกพร สุคำวัง. (2556). ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากร เขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร มหาวิยาลัยเชียงใหม่, 40(4), 91-99. [สืบค้นเมื่อ19 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tcithaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18873/16643

สาวิณี สำเภา, พลากร สืบสำราญ, อรุณ บุญสร้าง และปวีณา ลิมปิทีปราการ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมของประชากรวัยทำงานเพื่อรองรับสังคมสูงวัยในเขตอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 14(1), 137-148. [สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JMPH4/article/view/264015/181492

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย

พ.ศ.2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230731135832_95369.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2564). ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี จังหวัดลำปาง อำเภอเถิน ปีงบประมาณ 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง (2565a). ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี จังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565]; แหลงข้อมูล: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2565b). กลุ่มรายงานมาตรฐานการคัดกรอง: ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง หัวข้อที่ 2 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48

อนงค์นาฏ ผ่านสถิน.(2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณของข้าราชการครูจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice-hall.

Solhi, M., Pirouzeh, R., Zanjari, N. (2022). Middle-aged preparation for healthy aging: a qualitative study. BMC Public Health, 22(1), 1-8. [cited 2023 January 10]; Available from: https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC8832661/pdf/12889_2022_Article_12715.pdf

World Health Organization. (2002). Active Aging: A policy framework. World Health Organization [online]. [cited 2022 September 30]; Available from: https://iris.who.int/handle/10665/67215

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28