ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยสนับสนุนที่มีต่อพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เพื่อการป้องกันและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • เกสรา ไชยล้อม วท.บ. (สถิติ), ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • นารถลดา ขันธิกุล ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

หน้ากากอนามัย, โควิด 19, พฤติกรรม, ชุมชน, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคประจำถิ่นที่ประชาชนจำเป็นต้องป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยสนับสนุน ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 15 – 69 ปี จาก 8 ตำบลของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 333 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยในระดับดี ร้อยละ 54.65 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความรู้ในการใช้หน้ากากอนามัย ความถี่ของการใช้หน้ากากอนามัย การรับรู้นโยบายของภาครัฐ แรงสนับสนุนทางสังคม แรงสนับสนุนจากครอบครัว และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้หน้ากากอนามัย และพบว่าผู้ที่ใช้หน้ากากอนามัยเป็นประจำกรณีมีญาติหรือแขกมาพบที่บ้าน/ที่พักจะมีพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เป็น 2.79 เท่าของประชาชนที่มีการใช้หน้ากากอนามัยเป็นบางครั้ง/ไม่ใส่เลย และผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับมากจะมีพฤติกรรมการใช้หน้ากากเพื่อการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 เป็น 1.81 เท่า ของประชาชนที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับน้อย ดังนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขควรประชาสัมพันธ์นโยบายและข่าวสารองค์ความรู้ ส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมและแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

References

กรมควบคุมโรค. (2563a). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.

กรมควบคุมโรค. (2563b). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

[ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ตามพื้นที่ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=province

กรมอนามัย. (2563). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกตามกลุ่มวัยและเพศ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://dashboard.anamai.moph.go.th/population

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2564). รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ ๔๖). (2565, 23 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 146 ง. หน้า 21-24.

ณฐนันทน์ ภูศรีเทศ และสรัญยา ลิ้มสายพรหม. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนิวนอร์มัลในสถานการณ์โควิด-19 ของคนวัยทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 19(3), 285-300. [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12721/10571

ณรงค์ ใจเที่ยง, พัชรีภรณ์ ยะขอด และขวัญหทัย แสวงงาม. (2565). การสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อหลีกเลี่ยง เชื้อโควิด 19 ในยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 8(1), 113-130. [สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/250622/172801

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และปิยะกมล มหิวรรณ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 40-55. [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246723/166658

ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์ และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(ฉบับพิเศษ 2), S247-S259. [สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2567]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12586/10449

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2563. (2563, 29 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 48 ง. หน้า 1.

พันธนีย์ ธิติชัย และภันทิลา ทวีวิกยการ. (2564). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และ มาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.

พินิดา จิวะไพศาลพงศ์, วลัยนารี พรมลา, จิฬาวัจน์ เลิกนอก, กิตติมาพร โลกาวิทย์ และพัชรียา สีห์จักร. (2564). พฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้าในการป้องกันโควิด - 19 ของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 650-659. [สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pacific/article/view/254338/173674

ระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิดกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34 (6) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 พ.ศ. 2564. (2564, 7 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 122 ง. หน้า 4-7.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัย การศึกษา, 18(3), 8-11.

สมบูรณ์ ขอสกุล. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้าในการป้องกันโควิด-19 ของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 35(2), 22-38. [สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/249506/170282

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2565). ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ระลอกเดือนมกราคม 2565 จังหวัดเชียงใหม่ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.chiangmai.go.th/covid19/assets/img/situation/260365.jpg

Betsch, C., Korn, L., Sprengholz, P., et al. (2020). Social and behavioral consequences of mask policies during the COVID-19 pandemic. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 117(36), 21851-21853. [cited 2022 March 27]; Available from: https://doi.org/10.1073/pnas.2011674117

Bloom, B. S. (1968). Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1 [online]. [cited 2022 May 22]; Available from: https://eric.ed.gov/?id=eD053419

Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Kaewpan, W., Rojpaisarnkit, K., Pengpid, S., & Peltzer, K. (2022). Factors affecting face mask-wearing behaviors to prevent COVID-19 among Thai people: A binary logistic regression model. Frontiers in Psychology, 13, 996189. [cited 2023 August 4]; Available from: https://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.996189

Poonaklom, P., Rungram, V., Abthaisong, P., & Piralam, B. (2020). Factors associated with preventive behaviors towards Coronavirus Disease (COVID-19) among adults in Kalasin province, Thailand, 2020. Outbreak, Surveillance, Investigation & Response Journal, 13(3), 78-89. [cited 2023 August 4]; Available from: https://www.osirjournal.net/index.php/osir/article/view/211

Rojpaisarnkit, K., Kaewpan, W., Pengpid, S., & Peltzer, K. (2022). COVID-19 preventive behaviors and influencing factors in the Thai population: A web-based survey. Frontiers in Public Health, 10, 816464. [cited 2023 August 4]; Available from: https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.816464

Şenol, Y., & Avcı, K. (2022). Identification of risk factors that increase household transmission of COVID-19 in Afyonkarahisar, Turkey. Journal of Infection in Developing Countries, 16(6), 927-936. [cited 2023 August 4]; Available from: https://doi.org/10.3855/jidc.16145

Song, E., & Yoo, H. J. (2020). Impact of social support and social trust on public viral risk response: A COVID-19 survey study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(18), 6589. [cited 2023 October 20]; Available from: https://doi.org/10.3390/ijerph17186589

Tam, V. C. W., Tam, S. Y., Khaw, M. L., Law, H. K. W., Chan, C. P. L., & Lee, S. W. Y. (2021). Behavioural insights and attitudes on community masking during the initial spread of COVID-19 in Hong Kong. Hong Kong Medical Journal, 27(2), 106-112. [cited 2023 October 20]; Available from: https://doi.org/10.12809/hkmj209015

Tjaden, A. H., Edelstein, S. L., Ahmed, N., et al. (2023). Association between COVID-19 and consistent mask wearing during contact with others outside the household-A nested case-control analysis, November 2020-October 2021. Influenza and Other Respiratory Viruses, 17(1), e13080. [cited 2024 February 20]; Available from: https://doi.org/10.1111/irv.13080

Wang, Y., Tian, H., Zhang, L., et al. (2020). Reduction of secondary transmission of SARS-CoV-2 in households by face mask use, disinfection and social distancing: a cohort study in Beijing, China. BMJ Global Health, 5(5), e002794. [cited 2022 May 22]; Available from: https://doi.org/10.1136/bmjgh-2020-002794

World Health Organization. (2020). Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV) [online]. [cited 2021 Jun 16]; Available from: https://www.who.int/news-room/detail/30-01-2020-statement-on-the-second-meeting- of-the-international-health-regulations-(2005)-emergency-committee-regarding-the- outbreak-of-novel-coronavirus-(2019-ncov)

Zhang, S. X., Looi, K. H., Li, N., Wan, X., & Li, J. (2021). Individual-level heterogeneity in mask wearing during the COVID-19 pandemic in Malaysia. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 105(6), 1516-1518. [cited 2022 May 22]; Available from: https://doi.org/10.4269/ajtmh.21-0566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28