ความรอบรู้ด้านโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกาย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านโภชนาการ, การบริโภคอาหาร, ดัชนีมวลกาย, นักศึกษาบทคัดย่อ
ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 401 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญตามสัดส่วนของนักศึกษาในแต่ละคณะ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและการประเมินดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านโภชนาการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.62 ความรอบรู้ด้านโภชนาการรายด้านพบว่า ด้านการเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.83 ด้านความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.86 ด้านทักษะในการสื่อสารด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.11 ด้านทักษะการจัดการตนเองด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง
ร้อยละ 68.08 ด้านทักษะการตัดสินใจการเลือกปฏิบัติด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 49.38 และด้านการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 66.33 พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดีร้อยละ 0.50 และมีดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 24.44 ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์และอ้วน ร้อยละ 29.17 การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่ามหาวิทยาลัยควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการของวัยรุ่นและจัดกิจกรรมโดยเน้นการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านโภชนาการให้กับนักศึกษา ดำเนินโครงการที่ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับการบริโภคในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการจัดทำโปรแกรมการที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีดัชนีมวลกายตามเกณฑ์ปกติเพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับดัชนีมวลกาย
References
กวินดา วิเศษแก้ว และเบญจา มุกตพันธุ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(2), 183-192. [สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://www.thaidj.org/index.php/smnj/article/view/8780
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การพัฒนาเกณฑ์พฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานตาม
กลุ่มวัย. นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข.
ชลิดา เลื่อมใสสุข และวัชรี พืชผล. (2561). ความรู้ทางโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 73-83. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so05.tcithaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/162320
ชัชชฎาภร พิศมร, อลงกต ประสานศรี, เอกสิทธิ์ ไชยปิน และฉัตรสุดา มาทา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(2), 75-84. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/255601
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญา ภิวัฒน์, 5(2), 255-64. [สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/20189
นัชชา ยันติ และกริช เรืองไชย. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกินในนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16(2), 71-86. [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/245784
ปรเมศวร์ บุบไชยา, นฤมล ศราธพันธุ์ และสุวิมล อุไกรษา. (2565). ความฉลาดรู้ทางโภชนาการของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 37(3), 191-201. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/252556
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 28(1), 122-128.
ภัทระ คำพิทักษ์ (บ.ก.). 2565. จริงหรือไม่! การตลาดอาหารและเครื่องดื่มกระตุ้นให้เด็กไทยอ้วนขึ้น [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2022/08/25667
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2566). จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน ประจำปีการศึกษา 2566 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://aar.bsru.ac.th/statistic/
มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 20-29. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/101421
มูนา กิยะ, เมธาวี ณ อิ่น และธนัช กนกเทศ. (2566). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น, 4(2), 120-137. [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/1419
รัตนาภรณ์ สาสีทา, คัติยา อีวาโนวิช และฉวีวรรณ บุญสุยา. (2565). ความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 17(1), 28-43. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/256875
ลักษณิน รุ่งตระกูล. (2562). รายงานการประเมินภาวะโภชนาการและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นไทย. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ.
วัชราพร เชยสุวรรณ, อมลวรรณ ตันแสนทวี และคณะ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 250-266. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nmdjournal/article/view/158604
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
วีรชัย มูลใจ, มารีณี เจ๊ะและ, วิชญาพร สุวรรณประดิษ, ณัฐธิดา กาคำ และสุวัฒน์ ศิริแก่นทราย. (2566). พฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนบัญญัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(3), 47-58. [สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/264013
ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 116-123. [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229841
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2566). รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: แฮนดี เพรส จำกัด
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุสิตรา สิงโสม. (2563). การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาสาขาวิชา
คหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2), 232-246.
อดิศักดิ์ หวานใจ, มรุณี เจะอาลี, นูรีดา ดือราซอ และไฟซอล เจะยอ. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11; วันที่ 17 กรกฎาคม 2563; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อาทิตย์ ปานนิล. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกิร์ก.
Gibbs, H., & Chapman-Novakofski, K. (2013). Establishing content validity for the Nutrition Literacy Assessment Instrument. Preventing Chronic Disease, 10, E109. [cited 2023 August 5]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3702232/
Lobstein, T., Brinsden, H., & Neveux, M. (2022). World obesity atlas 2022. United Kingdom: World Obesity Federation.
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social science & medicine, 67(12), 2072-2078. [cited 2023 August 1]; Available from: https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050
Shih, S. F., Liu, C. H., Liao, L. L., & Osborne, R. H. (2016). Health literacy and the determinants of obesity: a population-based survey of sixth grade school children in Taiwan. BMC Public Health, 16(1), 280. [cited 2023 August 5]; Available from: https://doi.org/10.1186/s12889-016-2879-2
Silk, K. J., Sherry, J., Winn, B., Keesecker, N., Horodynski, M. A., & Sayir, A. (2008). Increasing Nutrition Literacy: Testing the Effectiveness of Print, Web site, and Game Modalities. Journal of Nutrition Education and Behavior, 40(1), 3-10. [cited 2023 August 20]; Available from: https://doi.org/10.1016/j.jneb.2007.08.012
Wayne D. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6th ed): John Wiley&Sons.
World Health Organization. (2000). The Asia-Pacific perspective: redefining obesity and its treatment [online]. [cited 2023 September 10]; Available from: https://iris.who.int/handle/10665/206936
World Health Organization. (2022). Obesity and overweight [online]. [Cite 2023 September 15]; Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
Zoellner, J., Connell, C., Bounds, W., Crook, L., & Yadrick, K. (2009). Nutrition Literacy Status and Preferred Nutrition Communication Channels Among Adults in the Lower Mississippi Delta. Preventing Chronic Disease, 6(4), A128. [cited 2023 August 10]; Available from: https://www.cdc.gov/pcd/issues/2009/oct/08_0016.htm