ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันวัณโรคปอดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, วัณโรคปอด, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคปอดให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันวัณโรคปอดของ อสม. จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ของอำเภอเมืองพะเยา อายุระหว่าง 25-59 ปี จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีระยะเวลา6 สัปดาห์ 2) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันวัณโรคปอด และข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบทีคู่และอิสระ ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) บุคลากรสุขภาพสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในการส่งเสริมศักยภาพของ อสม.ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน ในแต่ละพื้นที่ได้
References
กฤศภณ เทพอินทร์ และเสน่ห์ ขุนแก้ว. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 14(1), 206-218. [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/252496/173492
กฤษฎากร เจริญสุข. (2564). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี.
วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 30(1), 72-90. [สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248864/169987
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรคระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570). นนทบุรี: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy: HL) เรื่องการป้องกันวัณโรคในชุมชน. นนทบุรี.
กัมปนาท ฉายชูวงษ์. (2562). ผลกระทบจากความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดในประเทศไทย. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ, 1(2), 77-91. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/issue/view/14067/3953
คำพอง คำนนท์ และพรสุข หุ่นนิรันดร์. (2566). การพัฒนารูปแบบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 33(2), 11-15. [สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://tnaph.org/wp/wp-content/uploads/2023/08/NJPH-Vol.33_No.2_May-Aug_2023-1.pdf
เฉวตสรร นามวาท, สุธาสินี คำหลวง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร และคณะ. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทยการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2018/08/Full-report_TB.pdf
ดวงใจ ไทยวงษ์, สุวัฒนา อ่อนประสงค์ และกรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรคโดยหมอประจำบ้านของอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 29(3), 111-130. [สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/259745/175213
รจนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริ และกมลพร แพทย์ชีพ. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(1), 250-262. [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/245346
ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2566). ฐานข้อมูล ฌกส-อสม จังหวัดพะเยา [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://www.thaiphc.net/new2020/cremation/district?year=2562&province=56
วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ, สุมัทนา กลางคาร และสรญา แก้วพิทูลย์. (2561). ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว, 25(1), 79-90. [สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/155323/117202
วาริน เขื่อนแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมวัณโรค อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 1(2), 30-43. [สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/247386/170446
สุวภัทร นุ่มเจริญ และอัญญา ปลดเปลื้อง. (2567). ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านส่งเสริมป้องกันโรควัณโรคต่อทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค ตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา, 12(3), 1-14. [สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1429
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์.
เอกพันธ์ คัมภีระ, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน. พยาบาลสาร, 48(1), 174-186. [สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/250247/170097
เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว และวัชรีวงค์ หวังมั่น. (2563) ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 419-429. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/issue/view/794/102
Craciun, O. M., Torres, M. D. R., Llanes, A. B., & Romay-Barja, M. (2023). Tuberculosis knowledge, attitudes, and practice in middle- and low-income countries: A systematic review. Journal of Tropical Medicine, 2023, 1014666. [cited 2024 March 2]; Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1155/2023/1014666
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078. [cited 2024 March 2]; Available from: https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050
Sørensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12, 80. [cited 2024 March 22]; Available from: https://doi.org/10.1186/1471-2458-12-80
World Health Organization. (2023). Global Tuberculosis Report 2023 [online]. [cited 2023 December 25]; Available from: https://www.tbthailand.org/download/Manual/Global%20TB%20report%202023.pdf