การศึกษาเปรียบเทียบผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการในคลินิกหมอครอบครัวสันป๋อ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์พา ถวี พ.บ.อว. เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลแม่อาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน,, คลินิกหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทรัพยากรทางการแพทย์มีจำกัดไม่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยทุกคนในคลินิกโรคเรื้อรังได้จึงมีการส่งต่อผู้ป่วยสู่คลินิกหมอครอบครัว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่รักษาใน 3 หน่วยบริการ ได้แก่ คลินิกหมอครอบครัว คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสุ่มตัวอย่างจำนวนหน่วยละ 156 คนรวมทั้งหมด 468 คน เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียอิเล็กทรอนิกส์ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึงกันยายน 2567 ผลการศึกษาพบว่า คลินิกหมอครอบครัวมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคร่วมมากกว่าและมีการใช้ยามากกว่า รพ.สต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีผลระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยดีกว่า รพ.สต. และคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีระดับน้ำตาลในเลือด 125.87, 127.6 และ 136.81 ตามลำดับ ซึ่งมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดไม่แตกต่างกัน และมีระดับไมโครอัลบูมินในปัสสาวะดีกว่าคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแต่มากกว่ารพ.สต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ย 50.38, 64.74 และ 47.50 ตามลำดับ ทั้งนี้ระดับอัตราการกรองของไตเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน รวมถึงมีระดับไขมันชนิดแอลดีแอลดีกว่า รพ.สต. และคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ย 72.08, 77.04 และ 88.76 ตามลำดับ การเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง ติดเชื้อ แผลเบาหวานไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังด้านหลอดเลือดสมองพบว่า คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพบมากกว่าคลินิกหมอครอบครัว และ รพ.สต. ร้อยละ 9.6, 5.1 และ 1.2 ตามลำดับ โรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 5.8, 5.0 และ 0 ตามลำดับ ดังนั้นการให้บริการผู้ป่วยในคลินิกหมอครอบครัวมีความสามารถใน
การดูแลผู้ป่วยที่ความซับซ้อนกว่า รพ.สต. และผลการดูแลดีกว่า

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รณรงค์เบาหวานโลก ปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc.

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการดำเนินงาน Primary Care Cluster สำหรับหน่วยบริการ. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/files/PCC_Guideline.pdf

กฤษณา ทวีทรัพย์. (2565). ประสิทธิผลของการควบคุมระดับน้ำตาลในผุ้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกหมอครอบครัว อำเภอกุมภวาปี. การประชุมวิชาการเขตสุขภาพที่ 8. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 จังหวัดอุดรธานี.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-wTAxoOu6yL_YL9c7IG/view

วินัย ปะสิ่งชอบ. (2015). การรักษาผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 22(1), 21–33. [สืบค้นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-haijo.org/index.php/jmhs/article/view/58636/48346

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). สถานการโรคเบาหวานในภาคพื้นแปซิฟิก [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฏาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/the-chart/the-chart-1/2018-02-08-14-52-46.

สายพิณ หัตถีรัตน์. เอกสารประกอบการสอนเรื่องความรู้พื้นฐานด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (Overview Concept of Family Medicine) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/sites/default/files/public/pdf/3OverviewFM.pdf

อารีย์ นิสภนันต์. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสตึกและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 33(2), 179–194. [สืบค้นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/143516

Couppis, O., Juneja, F., Hussain, N., & Davies, Z. (2023). Assessing the Impact of Primary Care-Led Optimisation Clinics in the Management of Type 2 Diabetes: A Service Redesign Pilot Study. Cureus, 15(10), e47365. [cited 2024 July 12]; Available from. https://doi.org/10.7759/cureus.47365

Farmaki, P., Damaskos, C., Garmpis, N., Garmpi, A., Savvanis, S., & Diamantis, E. (2020). Complications of the Type 2 Diabetes Mellitus. Current Cardiology Reviews, 16(4), 249-251. [cited 2024 July 12]; Available from: https://doi.org/10.2174/1573403X1604201229115531

IDF Diabetes Atlas. (2021). Diabetes around the World in 2021. [cited 2024 July 12]; Available from: https://diabetesatlas.org/

Luo, M., Zhongxian, P., Gerald, K. et al. (2018). Diabetes Management in a Primary Care Network (PCN) of Private General Practitioners in Singapore: An Observational Study. Medicine, 97(43), 1–7. [cited 2024 November 20]; Available from: https://doi.org/10.1097/MD.0000000000012929

Mphasha, M., Skaal, L., Mothiba, T., Ngoatle, C., & Hlahla, L.S. (2023). Primary Health Care Family Partnership for Better Diabetes Outcomes of Patients: A Systematic Review. Journal of Endocrinology, Metabolism and Diabetes of South Africa, 28(1), 1–6. [cited 2024 November 20]; Available from: https://doi.org/10.1080/16089677.2022.2140517

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28