ประสิทธิผลการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ในงานการเงินและบัญชี โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • นันทวารีย์ บูรณะสมพจน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิผลการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ในงานการเงินและบัญชี โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ 

วิธีและรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงเป็นข้อมูลการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ระยะเวลา 3 ปี คือ ปี 2557-2559  เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในการบันทึกข้อมูลการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรง 2 ส่วนคือผู้ป่วยนอกจากโปรแกรม BMSHosXPPCHIExport และ ผู้ป่วยในจากโปรแกรม CSMBS วิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิผล ในด้านความถูกต้อง ความทันเวลาและความครบถ้วนของการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ด้วยสถิติ ค่าความถี่ และร้อยละ

ผลการวิจัย : พบว่าประสิทธิผลของการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของแผนกผู้ป่วยนอกพบว่าร้อยละความถูกต้องมีแนวโน้มลดลงทุกปี ในปี 2557-2559 ร้อยละ 99.34, 97.20 และ 94.24 ตามลำดับ และร้อยละความครบถ้วนของการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มลดลงทุกปี คือ ร้อยละ 97.42, 95.84  และ 94.24 ในปี 2557-2559 ตามลำดับ จำนวนเงินที่ถูกปรับลดสูงขึ้นทุกปีเช่นกัน ในปี 2557 และ 2558 มีความใกล้เคียงกัน คือ 2,444,414.00 และ 2,857,308.00 บาท ตามลำดับ แต่ในปี 2559 พบว่าจำนวนเงินที่ปรับลดสูงมากขึ้นเกือบ 2 เท่า คือ 4,877,454.00 บาท  แต่พบว่าประสิทธิผลของการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของแผนกผู้ป่วยใน พบว่าร้อยละความถูกต้องของการจัดเก็บรายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2557-2559 ร้อยละ 96.5, 97.0 และ 98.8 ตามลำดับ สำหรับร้อยละความทันเวลาต่ำมากที่สุดในปี 2558 คือ  98.8  แต่ในปี 2557 และ 2559 ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 99.8 และ 99.2 ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละความครบถ้วนของการจัดเก็บรายได้มีแนวโน้มลดลงด้วย คือ ร้อยละ 99.0, 98.2  และ 98.9 ในปี 2557-2559 ตามลำดับ โดยพบว่าจำนวนเงินที่ถูกปรับลดภายหลังการตรวจสอบของกรมบัญชีกลางสูงขึ้นเช่นกัน คือ 640,355, 753,702.3  และ  676,675.3 บาทตามลำดับ

สรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ควรมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้สิทธิจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลโดยเฉพาะในแผนกผู้ป่วยนอก โดยมุ่งเน้นการทั้งพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการระบบริการรักษาพยาบาลเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุด

คำสำคัญ : ประสิทธิผล   การจัดเก็บรายได้   สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล

References

สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. แนวทางการตรวจสอบการเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวการรักษาพยาบาลข้าราชการของส่วน
ราชการ. กรุงเทพ: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง, 2555.

นิลวรรณ อยู่ภักดี และ ศุลสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ระบบการจัดกลุ่มผู้ป่วยนอก: ความเป็นไปได้จากฐานข้อมูลประกันสุขภาพในประเทศไทย. ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2548.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ กิตติพงษ์ เรือนทิพย์. โครงการศึกษาแนวทางการปฏิรูปองค์กรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2554.

อัจศรา ประเสริฐสิน. อีกหนึ่งมุมมองของแนวคิดการประเมิน: Another view of Evaluation approach. Sakon Nakhon Rajabhat University Journal. 2014; 6(11) January-June: 95-106.

วรัท พฤกษากุลนันท์ (2550). ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) ออนไลน์เข้าถึงใ น http://peenet.blogspot.com/2 0 0 8 / 0 7 / ficiencyeffectivenessadministrator.html. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553.

Mehrens, W.A. & Lehman , I.J. . Measurement and Evaluation in Education and Psychology. 3rd.ed., Japan: HOLT, Rinehart and Winston, 1984.

Seldin, Peter. Evaluation and Developing Administration Performance. San Francisco: Jossey-Bass. 1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24