การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ระดับตำบล บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ ไหลหาโคตร

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever : DHF) เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ประเทศเขตร้อน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ระดับตำบล  บ้านหนองหญ้าปล้อง  หมู่ที่ 4  ตำบลบ่อใหญ่  อำเภอบรบือ   จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีการวิจัย : การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ  (Action   Researchกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีความสำคัญในการดำเนินในระดับหมู่บ้านโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)มาทำการการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)  ได้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 88 คนแบ่งการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติสังเกตการณ์และสะท้อนผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ Paired  sample t- test ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามความเป็นเหตุเป็นผล (Content  Analysis) 

ผลการศึกษา : พบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ระดับตำบล รวม  9  ขั้นตอน  ประกอบด้วย1)จัดทำแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2) สร้างเครือข่ายทีม SRRT ระดับตำบล  ในหมู่บ้าน  3)อบรมภาคีเครือข่ายทีม SRRT 4) จัดทำโครงสร้างการทำงานของทีมเฝ้าระวังโรคที่ชัดเจน  5)รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย6)ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออก 7) เครือข่ายทีม SRRT ระดับตำบล การสำรวจประเมินความชุกลูกน้ำยุงลาย8) ทีมพี่เลี้ยงติดตามประเมินผลการดำเนินงาน  9) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินงานและผลเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้  การปฏิบัติตัว และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านก่อนและหลัง มีความแตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

โดยสรุป : ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน 2) มีการแบ่งปันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน  3) มีการจัดระบบในการเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน  4)การทำงานเป็นทีม ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีการประสานการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค,ไข้เลือดออก

 

References

World Health Organization. Dengue and dengue haemorrhagic fever. WHO Fact Sheet No. 117. Geneva: WHO;2002.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.โรคไข้เลือดออก : สำหรับ ประชาชนทั่วไป อาสาสมัครสาธารณสุข.นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข;2557.

งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. รายงานระบาดวิทยาประจำปี.มหาสารคาม:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม;2559.

งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรบือ.รายงานระบาดวิทยาประจำปี.มหาสารคาม:สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรบือ;2559.

งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อใหญ่.รายงานระบาดวิทยาประจำปี.มหาสารคาม:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อใหญ่;2559.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.หลักสูตรอบรมวิทยากรเพื่อการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียสำหรับทีม SRRT ระดับตำบล. นนทบุรี:กระทรวง สาธารณสุข;2557.

สุมัทนา กลางคาร. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม:โรงพิมพ์สารคามการพิมพ์;2553.

McTaggart, Robin, and Stephen Kemmis, eds. The action research planner.Burwood: Deakinuniversity; 1988.

จรูญศักดิ์ หวังล้อมกลาง.ประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี.วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2552.

นันท์ธร กิจไธสง, สมจิตต์สุพรรณทัสน์และปิติทั้งไพศาล. รูปแบบการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลมะเฟืองอำเภอพุทไธสงจังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

ธนกร จีระออน.รูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2553.

จิราภรณ์ อันนอก.การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนเขตพื้นที่ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2557.

ทวี ดีละ.การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับชุมชนตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2557.

กรภัทร อาจวานิชชากุล.การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมศึกษาของชุมชนเพื่อการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก.ปริญญานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-25