การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ตาเทียม กรณืศึกษา 3 ราย
บทคัดย่อ
การติดเชื้อในลูกตา (Endophtalmitis) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจกที่รุนแรงที่สุด เกิดจาก เชื้อโรคจาก ภายนอกร่างกายเข้าสู่ร่างกายโดยตรง (exogenous endophthalmitis) ผ่านทางบาดแผลจากการผ่าตัด หรือแผลที่เกิดการ บาดเจ็บต่อลูกตาและจากการติดเชื้อภายในร่างกายอยู่ก่อน ซึ...่งแพร่กระจายมาตามกระแสเลือดเข้าสู่ภายในลูกตา (endogenous endophthalmitis) จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดตาต้อกระจกของโรงพยาบาล มหาสารคามในปีงบประมาณ 2558 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2558 พบว่ามีการติดเชื้อหลังผ่าตัดที่ รุนแรงจำนวน 3 รายในจำนวนผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกทั้งหมดจำนวน 1,772 รายคิดเป็นร้อยละ 0.17 ผู้ป่วยต้องกลับมารักษา ซ้ำและผู้ป่วย 2 ใน 3 รายสูญเสียการมองเห็นแบบถาวร วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสาเหตุ ปัจจัยส่งเสริมของการติดเชื้อของผู้ป่วย 3 ราย และนำผล การศึกษาไปพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ตาเทียมให้ผู้ป่วยปลอดภัย กรณีศึกษา 3 รายนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก เวชระเบียนผู้ป่วยใน ใบติดตามการรักษา ผู้ป่วยหลังผ่าตัดและใบสรุปการสอบสวนการติดเชื้อของคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ผู้ป่วย ได้รับการรักษาโดยการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางเส้นเลือดดำ ฉีดเข้าน้ำวุ้นตา ผ่าตัดล้างหนองออกจากช่องหน้าม่านตาและผ่าตัด น้ำวุ้นตา ผลการรักษาระดับสายตาก่อนกลับบ้านรายที่ 1 เท่ากับ 20/50 รายที่ 2 และ 3 มองเห็นแสงไฟเท่านั้น (Light perception) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ตาเทียมให้ปลอดภัยและนำไปเป็น ข้อมูลในการศึกษาต่อไป
คำสำคัญ : การติดเชื้อหลังผ่าตัดในลูกตา, การฉีดยาปฏิชีวนะเข้าน้ำวุ้นตา, การผ่าตัดน้ำวุ้นตา
References
Katten HM , Flynn W Jr. , Pfilgfelder S , et al. Nosocromial endophthalmitis surgery: cuuret incidence of infection after intraocular surgery. Ophthalmology 1991 ; 98: 227-38.
Javitt JC , Vitale S , Canner JK .et al. National outcomes of cataract extraction : endophthalmitis following inpatient surgery. Arch Ophalmal 1991 ; 109 : 1089-9.
วัฒนีย์ เย็นจิตร ประธาน เลิศมีมงคลชัย สมชาย สมัยพร ดารณ ทวีทรัพย์ สุกัญญา พิทักษ์ศิริพรรณ. Postoperative endophthalmitis ในโรงพยาบาลลำปาง. จักษุวารสาร 2536 ; 7 : 167-87.
Brinton GS , Topping YM. Hyndiuk RA , et al. Post-traumatic endophthalmitis. Arch Ophthalmal 1984 ; 102 : 567-50.
Wilson FM. Causes and prevention of endophthalmitis. Int Opthalmal Clin 1987 ; 27 : 67-73.
Boldt HC , Pulido JS , Blodi GF , et al. Rual endophthalmitis. Ophthalmology 1987 ; 96 : 1722-26.
Fox GM , Joondeph BC , Flynn HW , et al. Delayed-onset pseudophakic- endophthalmitis. Am J Ophthslmol 1991 ; 111 : 163-73.
Meisler DM , Mandelbaum S. Propionibacterium-associated endophthalmitis after extracapsular cataract extraction : review of reported cases. Ophthalmology 1987 ; 96 ; 54-61.
Roussel T , Culbertson W , Jajje N. Chronic postoperative endophthalmitis associated with Propionibacterium acne. Arch Ophthalmol 1987 ; 105 : 1199-201.
Baum J , Payman GA , Barza M. Intravitreal administration of antibiotic in the treatment of bacterial endophthalmitis : iii consensus. Surv Ophthalmol 1982 ; 26 :204-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม