การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน โดยการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • สุนีรัตน์ สิงห์คำ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : สถิติผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอำเภอแกดำปี 2555-2557 คิดเป็นร้อยละ 40.76, 65.35 และ 82.46 ตามลำดับ มีผู้ป่วยบำบัดทดแทนไต 2,4 และ 12 คน พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ปี2557 มีผู้ป่วยล้างไตเสียชีวิต 2 คน ยังไม่มีรูปแบบปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเป็นแนวทางเดียวกัน บุคลากรขาดองค์ความรู้ในการดูแลโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจรวมถึงความตระหนักหนักในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ปัญหาการดูแลต่อเนื่องที่บ้านและชุมชนการส่งต่อทุกระดับ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง   

วัตถุประสงค์ :  มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน  โดยการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม อำเภอแกดำ

วิธีวิจัย ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation action research) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีมสหวิชาชีพ กลุ่มภาคีเครือข่าย แกนนำสุขภาพครอบครัว และกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1,2,3 และผู้แลผู้ป่วย จำนวน 1,172 คน เครื่องมือ ที่ใช้เป็น แบบสอบถาม เพื่อสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3ที่เข้าร่วมโครงการฯและข้อมูลจากห้องปฏิบัติการในการตรวจหาค่าCreatinine (Cr.) ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ใช้แบบสอบถามในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3จำนวน 251 คน ในการเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงนำข้อมูลจากห้องปฏิบัติการทั้งก่อนหลังมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าความถี่ (ร้อยละ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา การประเมินผล จากการประเมินการรับรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารรสเค็มลดลงจากร้อยละ57.60 เป็นร้อยละ 39.92 พฤติกรรมด้านการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ45.66 เป็นร้อยละ 63.58  ด้านผู้ป่วย พบว่า การรับรู้ต่อภาวะเสี่ยงการเกิดโรคไตเรื้อรังในการรับประทานอาหารรสเค็มทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น (ก่อน = 3.48 S.D=.527 หลัง =3.87 S.D=.353)พฤติกรรมในการควบคุมโรคเบาหวานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังการรับประทานอาหารที่ปรุงรสด้วยน้ำปลา>3ช้อนชาหรือเกลือแกง>1ช้อนชาต่อวันลดลง (ก่อน=1.59 S.D=.889 หลัง =1.18 S.D=.403) ทำให้เกิดนวัตกรรมวงกลมสีบอกฉัน และนวัตกรรมผู้ป่วยเป็นครู เชิดชูครอบครัวต้นแบบ โดยการมอบใบประกาศเกียรติบัตร ครอบครัวต้นแบบ 9 ครอบครัว โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจากผู้ป่วยบำบัดทดแทนไต

สรุป : หน่วยงานสถานบริการสาธารณสุขเครือข่ายแกดำ นำรูปแบบการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไปใช้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน  ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีประสิทธิภาพและชะลอไตเสื่อม ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3  จำนวน 251 คน มีอัตราการกรองของไตดีขึ้น ชะลอไตเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 34.66

คำสำคัญ : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง,  แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

References

มัณฑนา ภานุมาภรณ์.การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน:มโนทัศน์สำคัญสำหรับการดูแล.ชลบุรี : พี เพรส ; 2549.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.โรคไต:ปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่สำคัญ ของประเทศ รัฐควรมีมาตรการป้องกันและเพิ่มการเข้าถึงอย่างเร่งด่วน [อินเทอร์เน็ต].
กรุงเทพมหานคร:2556[สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2559]. แหล่งข้อมูล:www.wops.moph.go.th/ops/thp/thp/userfiles/file/2557.

คัทลียา อุคติ, ณัฐนิช จันทจิรโกวิท.ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยวิธีการขจัดของเสียทางเยื่อบุท้องต่อเนื่อง.สงขลา
นครินทร์เวชสาร 2552; 25(3) : 171-77.

อัมพร ซอฐานานุศักดิ์.บทบาทพยาบาลกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. Journal Nursing Science 2551; 26(3) : 33-42.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, เฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมสุขภาพ.มหาสารคาม: คลังนานา ; 2550.

อนุตตร จิตตินันท์. โรคไต กลไก พยาธิสรีวิทยา การรักษา.กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์ แอนเจอร์นิล พับลิเคชั่น; 2550.

อโณทัย เหล่าเทียง.ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล;2550.

วุฒิเดช โอภาสเจริญสุข.โรคไตจากเบาหวาน.กรุงเทพมหานคร : เท๊กซ์ แอนเจอร์นิล พับลิเคชั่น;2550.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service plan สาขาไต [อินเทอร์เน็ต].2558 [สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2559]; แหล่งข้อมูล:www.mkm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php

โรงพยาบาลแกดำ.รายงานประจำปี โรงพยาบาลแกดำ, จังหวัดมหาสารคาม.มหาสารคาม:โรงพยาบาลแกดำ 2557.

ปาริชาติ วัลัยเสถียน,พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น,สหัทยา วิเศษ,จันทนา เบญจทรัพทย์,ชลกาญจน์ฮาซันนารี. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา.พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพมหานาคร. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข(สรส.);2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27