ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะไข้ชัก  (febrile  seizure)   เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคทางระบบประสาทในเด็ก การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรก จะเป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวังและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดไข้ชักซ้ำ เพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสมต่อไป

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรก

วิธีการศึกษา : ศึกษาเวชระเบียนผู้ป่วยในของผู้ป่วยอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไข้ชักครั้งแรกและรับรักษาไว้ในโรงพยาบาลหนองคาย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 กันยายน 2556โดยศึกษาข้อมูลในส่วนของ เพศ อายุ ลักษณะของการชัก และได้ทบทวนเวชระเบียนต่อไปอีก 1 ปี (วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557) และรวมไปถึงโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือกเข้าสู่การศึกษา เพื่อศึกษาการเกิดไข้ชักซ้ำ และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำ

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีไข้ชักครั้งแรกทั้งหมด 331 ราย อายุเฉลี่ย 25.94 เดือน เป็นเพศชาย 198 คน (ร้อยละ 59.81) และ เพศหญิง 133 คน (ร้อยละ 40.19) ตรวจอุณหภูมิกายแรกรับเฉลี่ย 38.72 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่มีไข้ก่อนชักเฉลี่ย 29.10 ชั่วโมง สาเหตุของไข้ที่พบมากที่สุดคือ การติดเชื้อที่ผนังคอหอย    (Pharyngitis) 125 คน (ร้อยละ 37.80) หลังจากได้ทบทวนเวชระเบียนต่อไปอีก 1 ปีและรวมไปถึงโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับคัดเลือกเข้าสู่การศึกษา พบว่าจากจำนวนผู้ป่วยไข้ชักครั้งแรกทั้งหมด 331 ราย มีผู้ป่วยที่มีไข้ชักซ้ำ จำนวน 70 คน (ร้อยละ 21.15) อายุเฉลี่ย 22.23 เดือน   เป็นเพศชาย 38 คน (ร้อยละ 54.28) และ เพศหญิง 32 คน (ร้อยละ 45.72) โดยเป็นการชักซ้ำภายใน 6 เดือน 36 คน (ร้อยละ 51.40) ชักซ้ำภายหลัง 6 เดือน 34 คน (ร้อยละ 48.60) )       ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กไข้ชักครั้งแรก ได้แก่ การมีประวัติไข้ชักในครอบครัว (OR 8.80, 95%CI 4.69-16.53, p-value <0.001) และระยะเวลามีไข้ก่อนชัก 1-24 ชั่วโมง (OR 3.14, 95%CI 1.36-7.21, p-value 0.014) 

สรุป : ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยไข้ชักครั้งแรก คือ การมีประวัติไข้ชักในครอบครัวและระยะเวลามีไข้ก่อนชัก 1-24 ชั่วโมง  ควรมีการเฝ้าระวังและให้คำแนะนำผู้ปกครองของผู้ป่วยไข้ชักทุกรายโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะชักซ้ำเพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสม

คำสำคัญ : อาการชักจากไข้   ภาวะไข้ชักซ้ำ  ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำ

References

ณรงค์ เอื้อวิชญาแพทย์. โรคระบบประสาทที่พบบ่อย ในเด็ก. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา, 2551 : 181- 1882.

สุวรรณี พันเจริญ. Febrile Convulsion. ใน : นวลจันทร์ ปราบพาล, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, สุชีรา ฉัตรเพริดพราย, วรนุช จงศรีสวัสดิ์, ศิรินุช ชมโท, บรรณาธิการ. ปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก : แนวทางการ ดูแลรักษา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์จจำกัด, 2552 : 341-351

Shinnar S, Glauser TA. Febrile seizures. J Child Neurol 2002; 17 Suppl 1: S44-52

Nelson KB, Ellenberg JH. Prognosis in children with febrile seizures. Pediatrics 1978; 61 : 720-77

Sarah M.Roddy. Seizures. In: Ronald M .Perkin, James D. Switt, Dale A. Newton, Editors. Pediatric Hospital Medicine. Philadelphia: Lippin cott Williams&wilktns, 2003:299

สุรางค์ เจียมจรรยา, อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์. Febrile seizure : Update in management. ใน : สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์, ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, บรรณาธิการ. กุมาร เวชศาสตร์ก้าวหน้า 3. กรุงเทพมหานคร : เม็ดทราย, 2544 : 199-205

Capovilla G, Mastrangelo M, Romeo A, Vigevano F. Recommendations for the management of “febrile seizures” : Ad Hoc Task Force of LICE Guidelines Commission. Epilepsia. 2009; 50Supply 1 : 2-6

สุรภี เรืองสุวรรณ. Febrile convulsion. ใน: สุวรรณี พันเจริญ, วิโรจน์ พงษ์พันธุ์เลิศ, ทายาท ดีสุจริต, บรรณาธิการ. Neurology for Pediatricians. กรุงเทพมหานคร : ชัยเจริญ, 2541: 40-43

Berg AT, Shinnar S, Darefsky AS, et al.Predictors of recurrent febrile seizures : a prospective cohort study. Arch Pediatr Adolesc Med. 1997; 151 : 371-8

Hugen CA, Oudesluys-Murphy AM, Hopp WC. Serum Sodium levels and probability of recurrent febrile seizure. Eur J Pediatr. 1995; 154 : 403-5

สุรางค์ เจียมจรรยา. อาการชักจากไข้. ใน: วันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์, สุรางค์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ (ฉบับเรียบเรียงใหม่ เล่ม2). กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด, 2537 : 281- 284

Hampers LC, Spina LA. Evaluation and management of pediatric febrile seizures in the emergency department. Emerg Med Clin North Am. 2011; 29: 83-93

Sfaihi L, Maaloul, Kamiha S, Aloulou H, Chab choub I, et al. Febrile seizures : an epidemiological and outcome study of 482 cases. Childs Nerv Syst. 2012;28:
1779-1784

Mohamad A.Mikati. Febrile seizures. In: Kliegman, Stanton, ST.Geme, Schor, Behrman, editors. Nelson Textbook of Pediatrics. 19th Edition. Philadelphia: Elsevier Inc, 2011: 2017-2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27