ผลการวินิจฉัยและรักษาโดยการส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่ ของหน่วยส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรรถพร ปฏิวงศ์ไพศาล

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง  : โรคและความผิดปกติทางลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยศัลยกรรม และการส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐานในการคัดกรองวินิจฉัยภาวะผิดปกติทางเดินอาหารส่วนล่างและสามารถทำให้การรักษาผ่านทางการส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่ได้

วัตถุประสงค์  :เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการวินิจฉัยและรักษาโดยการส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่  ของหน่วยส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective Descriptive Study)เก็บข้อมูลย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียบของคนไข้ ที่ได้รับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารทางลำไส้ใหญ่ ที่หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2557 ถึง 30 กันยายน 2559 จำนวน 264 คนโดยเก็บตามตัวแปรได้แก่ เพศ, อายุ, ข้อบ่งชี้ทางการส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่, ผลการวินิจฉัย, ความสำเร็จของการส่องกล้อง,ภาวะแทรกซ้อนจากการส่องกล้อง, การรักษาโดยการส่องกล้อง     วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่าข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่มากที่สุดคือ ท้องผูกเรื้อรัง 58 ราย (22%) การวินิจฉัยที่มากที่สุดในกลุ่มที่มีความผิดปกติคือ มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง 33 ราย(12.5%) ผู้ป่วยที่ได้รับหัตถการด้วย(Polypectomy) ขณะส่องมีทั้งหมด 33 ราย ในที่นี้มี 2 ราย ที่ผลชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง (Malignant polyp)ไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนในขณะส่องและหลังส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่

สรุป :    ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยความผิดปกติทางเดินอาหารส่วนล่างซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะกำหนดแนวทางการรักษา นอกจากนั้นยังสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามในผู้ป่วยที่มี Malignt polyp และยังทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนา ทั้งในแง่การคัดกรองและรักษาต่อไป

คำสำคัญ : การวินิจฉัย,การรักษา,การส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่

References

NCCN . Clinical practice guideline in Oncology. Colorectal Screening , Version 1.2016 2016.

Appropriate use of GI endoscopy . American Society for Gastrointestinal Endoscopy (ASGE)

Volume 15, No. 6 : 2012 Cancer screening - United States, 2010. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2012;61:41-45. Available at: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22278157.

Levin B, et al. Screening and surveillance for the early detection of colorectal cancer the US Multi-Society Task Force on Colorectal Cancer, and the American College of Radiology. Gastroenterology 2008;134:1570-95.

Lieberman DA, Rex DK, Winawer SJ, et al; United States Multi-Society Task Force on Colorectal update by the US Multi-Society Task Force on Colorectal Cancer. Gastroenterology 2012;143:844-57.

Rex DK, et al. American College of Gastroenterology guidelines for colorectal cancer screening 2008. Am J Gastroenterol 2009;104:739-50.

Winawer SJ, Zauber AG, Ho MN, O’Brien MJ, Gottlieb LS, Sternberg SS, Waye JD, Schapiro M, Bond JH, Panish JF. Prevention of colorectal cancer by colonoscopic polypectomy. The National Polyp Study Workgroup. N Engl J Med.1993;329:1977–81.

Baxter NN, Goldwasser MA, Paszat LF, Saskin R, Urbach DR, Rabeneck L. Association of colonoscopy and death from colorectal cancer. Ann Intern Med. 2009;150:1–8

Hewitson P, Glasziou P, Irwig L, Towler B, Watson E. Screening for colorectal cancer using the faecal occult blood test, Hemoccult. Cochrane Database Syst Rev. 2007;(1):CD001216.

Atkin WS, Edwards R, Kralj-Hans I, Wooldrage K, Hart AR, Northover JM, Parkin DM, Wardle J, Duffy SW, Cuzick J. Once-only flexible sigmoidoscopy screening in prevention of colorectal cancer: a multicentre randomised controlled trial. Lancet.2010;375:1624–33.

Atkin W, Kralj-Hans I, Wardle J, Duffy S. Colorectal cancer screening. Randomised trials of flexible sigmoidoscopy. BMJ. 2010;341:c4618

Kahi CJ, Imperiale TF, Juliar BE, Rex DK. Effect of screening colonoscopy on colorectal cancer incidence and mortality. Clin Gastroenterol Hepatol. 2009;7:770–775; quiz 711.

Segnan N, Armaroli P, Bonelli L, Risio M, Sciallero S, Zappa M, Andreoni B, Arrigoni A, Bisanti L, Casella C, et al. Once-only sigmoidoscopy in colorectal cancer screening: follow-up findings of the Italian Randomized Controlled Trial--SCORE. J Natl Cancer Inst. 2011;103:1310–22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28