การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เกยูรี บุตราช
  • โชติมณี เรืองกลิ่น

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีรูปแบบการดูแลที่ไม่ชัดเจน จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต้องมานอนรักษานานขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด

วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายสุ่มแบบเจาะจงประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ, พยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน และผู้ป่วยโรคหืดจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ศึกษาประกอบด้วย แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกจำนวนวันนอน การกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 7 วัน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยโรคหืด ทีมสหสาขาวิชาชีพ และ พยาบาลวิชาชีพ มีค่าความเที่ยงที่ 0.97, 0.813 และ 0.879 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติพรรณนา การเปรียบเทียบความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยโรคหืดก่อนและหลังการพัฒนาใช้สถิติ Mann-Withney  U test การเปรียบเทียบความพึงพอใจสำหรับพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพก่อน และหลังการ พัฒนาใช้สถิติ Wilcoxon signed Ranks Test

ผลการศึกษา : พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยโรคหืดเป็นแบบ Hospital Case Management มีพยาบาลวิชาชีพเป็นManager ปฏิบัติร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ  พยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วยโรคหืดมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการรายกรณี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ.05 จำนวนวันนอนของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังใช้รูปแบบ แตกต่างกัน การกลับมารักษาซ้ำภายใน 7 วัน ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการ รายกรณีไม่แตกต่าง

สรุป : รูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลเชียงยืนได้จริง พยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วยโรคหืดมีความพึงพอใจ ต่อรูปแบบการจัดการรายกรณี ทำให้จำนวนวันนอนรักษาลดลง

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยโรคหืด

References

จอม สุวรรณโณ “การจัดการผู้ป่วยรายกรณี”วารสารคระพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 6, 2 (เมษายน) : 27-32 ; 2541.

เรวดี สิรินคร “Case Managerment” ใน ธิดา นิงสานนท์ บรรณาธิการ 108 คำถาม HA นนทบุรี ปรมัตถ์ การพิมพ์ ; 2548.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล “Clinical Pathway/ Care Map” ในจิตร สิทธิอมร, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, สงวนสิน รัตนเลิศ, และเกรียงศักดิ ราชบริรักษ์. (บรรณาธิการ) Clinical Practice Guideline : การจัดทำแลนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร : ดีไซร์ ; 2543.

Zander. K. “Nursing Case Management : Strategic Management of Cost and Quality Outcomes.” Journal of Nursing Administration. 18, 5 (May) ; 1988 : 23-30.

รุจโรจน์ แก้วอุไร “การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)” ม.ป.ท. ม.ป.ป.

Powell, S.K. Advance Case Management Outcome and Beyond. Arizona : Lippincott Williams & Wilkins. ; 2000.

จิราพร สิมากร “ผลการใช้การจัดการผู้ป่วย รายกรณีในผู้ป่วยออร์โธปีดิกส์ ต่อค่าใช่จ่าย จำนวนวันนอน ความพึงพอใจของผู้ป่วยและ ความสัมพันธ์ในทีมสหสาขา : กรณีศึกษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า” วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2544.

จิราภรณ์ ศรไชย “ผลของการจัดการผู้ป่วย รายกรณี ต่อการทำงานเป็นทีมของสุขภาพ ค่าใช่จ่ายในการพยาบาล และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล” วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2543.

Brown, M. Nursing Management Issues and Ideals : Health Care Management Review. Maryland : An Aspen ; 1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-02