ประสิทธิผลของการใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมโรค ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์
  • ลัดดา อัตโสภณ
  • พิศาล ชุ่มชื่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2

วิธีการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง โดยศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน ที่อาศัยอยู่ในตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในผู้ที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์ จำนวน 35 ครอบครัว  จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ ผู้ป่วยและครอบครัว  ซึ่งมี 4 กิจกรรม  ประกอบด้วย 1) กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ  2) กิจกรรมสร้างทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  3) กิจกรรมเยี่ยมบ้าน 4) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน และหลังสิ้นสุดการทดลองโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และบันทึกผลการตรวจน้ำตาลในเลือด    วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ และสถิติทดสอบ Paired Simple t-test

ผลการศึกษา : พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพที่สัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ <0.001 ขณะที่ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร และค่าเฉลี่ยของน้ำตาลเฉลี่ยสะสมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.008 และ 0.026 ตามลำดับ

สรุป : การจัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ กิจกรรมเยี่ยมบ้านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนผู้ป่วยเบาหวาน ครอบครัว/ผู้ดูแล ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : การสนับสนุนทางสังคม, การควบคุมโรค, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

References

Sultan A Meo. Diabetes mellitus: Health and wealth threat .International Journal of Diabetes Mellitus;2009 : 42 (1) doi;10.1016/ijdm.2009.03.007.

เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (MedResNet). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการ การประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ.2557.

กัณณิกา โคตรบรรเทา. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ความรู้ และพฤติกรรมสนับสนุนของครอบครัว โรงพยาบาลเชียงคาน.รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2551.

สิรวิชญ์ วิชญธีรากุล. การใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บ้านหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัด กาฬสินธ์. วารสารควบคุมโรค; 2553 : 36(4) :228-237.

สุระเชษฐ เกตุสวัสดิ์. การเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม และแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและชุมชน ในการควบคุมโรค ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ พื้นที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสุขศึกษา; 2552 : ปีที่ 32 เล่มที่ 111 : 59-70.

K. Goetz et al. The importance of social support for people with type 2 diabetes – a qualitative study with general practitioners, practice nurses and patients. GMS Psychosoc Med; 2012. 9:Doc02 doi:10.3205/psm000080.

ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์. ผลของการบูรณาการกิจกรรมเรียนรู้การใช้ยาในการให้บริการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2556.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 1): ศรีเมืองการพิมพ์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

Richard, L., Street, J., Ronald, M. & Epstein, In Lessons from Theory and Research on Clinician-patient Communication Karen, G., Barbara, K.R., & Viswanath, K. Health behavior and health education :Theory, research, and practice 4th ed. United States of America : HB Printing; 2008: 237-269.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-03