คุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดแบบกาย จิต สังคมบำบัด จังหวัดยโสธร
บทคัดย่อ
คุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดแบบกาย จิต สังคมบำบัดและความต้องการต่างๆ ในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตหลังการบำบัดยาเสพติด จะสามารถนำไปใช้วางแผนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมให้ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความต้องการในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดแบบกาย จิต สังคมบำบัด
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความต้องการในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดแบบกาย จิต สังคมบำบัด ในจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดจำนวน 109 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ในใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์
ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่า ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด แบบกาย จิต สังคมบำบัด อายุเฉลี่ย 35.8 ปี (S.D.=9.89) อายุในช่วง 30-39 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.7 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ48.6 ส่วนใหญ่จบการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 52.3 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 48.6 ส่วนใหญ่ไม่มีกองทุนช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนคิดเป็นร้อยละ 67.0 มีรายได้รวมน้อยกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 53.2 มีรายจ่ายรวม 5,000 -10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 63.3 ไม่มีเงินออมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 84.4 มีหนี้สินรวม 100,001–150,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 41.2 ส่วนใหญ่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 56.0 และไม่มีพื้นที่ทำกินของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 59.6 สำหรับคุณภาพชีวิตของผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ= 2.70, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับเดียวกัน คือระดับปานกลาง (xˉ= 2.32, S.D. = 0.58; xˉ= 2.75, S.D. = 0.72; xˉ= 3.39, S.D. = 0.84; xˉ = 3.46, S.D. = 0.80) ส่วนความต้องการเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต พบว่า ต้องการให้สังคมยอมรับ ชุมชนไม่รังเกียจ มีครอบครัวที่เข้าใจและให้อภัยในความผิดพลาดที่ใช้สารเสพติด
สรุป : ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลชุมชน และพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดแบบกาย จิต สังคมบำบัด ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธภาพทางสังคม และ ด้านสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ : คุณภาพชีวิต, ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด
References
กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการดำเนินการบำบัดฟื้นฟูและติดตามดูแลหลังการรักษา สำหรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ปี 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2546.
จรุญพร ปัญจวัฒนันท์. คู่มือกลุ่มครอบครัวศึกษายาเสพติด : การบำบัดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบกาย จิต สังคมบำบัด. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.] ; 2544
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. สถานการณ์ปัญหายาเสพติดปี 2557. [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2558]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nccd.go.th/index.php?mod=contentList&cate=369(2557).
สำนักงานสาธารรณสุขจังหวัดยโสธร. ข้อมูลบำบัดยาเสพติดประจำปี. ยโสธร : สำนักงานสาธารรณสุขจังหวัดยโสธร ; 2556.
ธวัชชัย กันทะวันนา. คุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2550.
จันทรัตร์ กฤชอาคม. คุณภาพชีวิตของชาวนาในเขตตำบลโนนพะยอม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม