ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อาณัติ เพิ่มธรรมสิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับบริการที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลร้อยเอ็ด               

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross section analysis) โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับบริการที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลร้อยเอ็ด  คัดเลือกลุ่มตัวอย่างตามตามเกณฑ์ที่กำหนด  จำนวน 319 ราย  เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม  ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.81  เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2559  ถึงเดือนกรกฎาคม 2559  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ และวิเคราะห์การถดถอยด้วยโลจิสติก  

ผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ได้แก่  เหตุการณ์ความเครียดที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ชิด     ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง   รายได้ของครอบครัว  และสัมพันธภาพในครอบครัว  โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีเหตุการณ์ความเครียดที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ชิดมีระดับภาวะซึมเศร้าเป็น 6.23 เท่าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่มีเหตุการณ์ความเครียดที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ชิด  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองจะมีระดับภาวะซึมเศร้าน้อยกว่า .188 เท่าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ครอบครัวที่มีรายได้พอใช้จะมีระดับภาวะซึมเศร้าน้อยกว่า .204 เท่าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ครอบครัวที่มีรายได้ไม่พอใช้  และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวดีจะมีระดับภาวะซึมเศร้าน้อยกว่า .132 เท่า ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวห่างเหิน เขียนเป็นสมการได้ ดังนี้  โอกาสที่มีระดับภาวะซึมเศร้า = 1.479+1.830(เหตุการณ์ความเครียด)-1.673(ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง)-1.589(รายได้ของครอบครัว)-2.028(สัมพันธภาพในครอบครัว)ความสามารถในการทำนายสมการถูกต้อง ร้อยละ 92.70

สรุป : ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า  เหตุการณ์ความเครียดที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ชิด     ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง   รายได้ของครอบครัว  และสัมพันธภาพในครอบครัว    เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด  สามารถนำไปใช้ในการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อต่อระดับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้

คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้า ,  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

References

World Health Organization.Depression research.NewYork:Spring Publishing Company Inc; 2005.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการศึกษาภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2554. สำนักงานกิจการโรงพิิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี;2557.

World Health Organization.Depression.Retrieved January 12, 2016, from http://www.who.int/mental_health /management/depression/definition/en/.html

สมภพ เรืองตระกูล. โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย.กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2543.

World Health Organization.The global burden of disease. Geneva, Switzerland :World Health Organization Press; 2001.

Beck, A. T. Depression : Clinical, experimental,and theoretical aspects. New York: Hoeber Medical Division; 1967.

American Psychiatric Association. Practice Guidelines for treatment of patient with Major depressive disorder. NJ: Prentice –Hall; 2006.

มาโนช หล่อตระกูล.การฆ่าตัวตาย การรักษาและการป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล.ปัจจัยของ สภาพสังคมเศรษฐกิจและพฤติกรรมที่มีผลต่อโรคซึมเศร้า.กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

Stordal,E.,Mycletun,A.,& Dahl, A. A.The association between age and depression in thegeneral population: A multivariate examination. Am J Psychiatry (2003), 107:-141.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล และสมพร รุ่งเรืองกลกิจ.การปรับปรุงเครื่องมือคัดกรองภาวะซึมเศร้าKKU-DIเพื่อให้มีความไวต่อเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 55(2); 2553. 177-189.

เจษฎา ทองชเถาว์ และคณะ.ความชุกของภาวะซึมเศร้าในพยาบาลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54 (1);37-54.

Miller, L. H., Smith, A.D., & Larry, R. The stress solution: An action plan to manage the stress inyou life. New York: Simon & Schuster; 1993.

พิเชษฐ์ อุดมรัตน์, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, และมาโนชหล่อตระกูล. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้าของคนไทย ปี 2549.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ;2550

พูนศรี รังสีขจีและคณะ. ความชุกของโรคซึมเศร้าในคู่สมรสของผู้ป่วยโรคติดสุราที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,51(3); 2549. 14-24.

Kendler KS,Karkowski LM,Preseott CA.Causal relationship between stressful lift events and the onset of major depression. Am J Psychiatry 1999; 156:837-41.

Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis.Third editio. Newyork : Harper and. Row Publication.

ธรณินทร์ กองสุข และคณะ.โรคซึมเศร้ารักษาหายได้.(พิมพ์ครั้งที่ 5). อุบลราชธานี: ศิริธรรม ออฟเซ็ท.2554.

Kendler KS,Karkowski LM,Preseott CA.Causal relationship between stressful lift events and the onset of major depression. Am J Psychiatry 1999; 156:837-41.

Corruble,Falissard, and GorwoodLife events exposure before a treated major depressive episode depends on the number of past episode. J Psychiatry : 2006:364-366

Horesh, Klomek, and Apter .Streeful life events and major depressive disorders. Psychiatry Research 160; 2008.:192-199

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล.ปัจจัยของสภาพสังคมเศรษฐกิจและพฤติกรรมที่มีผลต่อโรค ซึมเศร้า.กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวง สาธารณสุข; 2548.

จันทร์ชนก โยธินชัชวาล.ปัจจัยด้าน ครอบครัวที่มีผลต่อความเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณพิต.สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหา
ธรรมศาสตร์; 2549.

พรทิพย์ วงษ์วิเศษสิริกุล.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองการปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นมารดา กับอาการวิตก
กังวล และภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด ในมารดาที่มีบุตรคนแรก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา พยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

รัชนีวรรณ รอส และคณะ.รายงานการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อความซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2543.

ประภาส ธนะ.ปัจจัยที่มีอิทธพลต่อภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชธานีสระบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบันฑิต,สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและ
จิตเวช,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยบูรพา; 2551.

Bowman, Scogin and Lyrene .The Efficacy of Self-Examination Therapy and CognitiveBibliotherapy in the Treatment of Mild toModerate Depression. Psychiatry Research ;
5(2):131-140.

พัชรี พรมทับ.ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชาวไทยภูเขาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

พิมพ์พร สุขเสถียร และมาโนช หล่อตระกูล. ความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย; 2552.17(1), 21-32.

Grace, S.L.and .et.Efect of Depression onfive-year mortality after and acutecoronary syndrome. J Psychiatry; 2005:-51

มนตรี นามมงคลและคณะ.การเปรียบเทียบความเครียดความคิดอยากตาย และความคิดอยากฆ่าผู้อื่นของข้าราชการในจังหวัดเชียงใหม่.รายงานวิจัย ศูนย์สุขภาพจิต 2 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข;2540.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล และสมพร รุ่งเรืองกลกิจ.การปรับปรุงเครื่องมือคัดกรองภาวะซึมเศร้าKKUDIเพื่อให้มีความไวต่อเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย; 2553. 55(2), 177-189.

พิเชษฐ์ อุดมรัตน์, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, และมาโนชหล่อตระกูล. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้าของคนไทย ปี 2549.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่
กรุงเทพฯ. กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-04