การศึกษาสถานการณ์ และการใช้แนวทางการรักษาผู้สัมผัสหรือสงสัยสัมผัส โรคพิษสุนัขบ้า กรณีศึกษา โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ทิพย์จันทร์ ศิริกุล
  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้สัมผัสหรือสงสัยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2) เพื่อทบทวนหาแนวทางการรักษาผู้สัมผัสหรือสงสัยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่มารับบริการแผนก ผู้ป่วยนอก ห้องฉุกเฉิน และศูนย์สุขภาพชุมชนสามัคคี โรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีการศึกษา :  เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง กลุ่มที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 1,679 คน ผู้ที่ได้สัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า 28 คน  และทีมสหวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เวชระเบียนผู้ป่วย แบบฟอร์ม สอบสวนโรค แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา : 1)ผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนใหญ่จะถูกกัด และข่วนเป็นแผลมีเลือดออก ร้อยละ 96.12 รองลงมาถูกงับเป็นรอยช้ำไม่มีเลือดออก ร้อยละ 1.85  ตำแหน่งที่ถูกกัด แขน ขา ร้อยละ 41.39 ใบหน้า ร้อยละ 1.55 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ล้างแผลก่อนมา โรงพยาบาล ร้อยละ 65.75 ไม่ได้ล้างแผล ร้อยละ 34.25 ได้วัคซีนฉีดเข้าใต้ผิวหนัง + RIG มากที่สุด  ร้อยละ 30.14 รองลงมาคือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ + RIG ร้อยละ 29.12 2) ผู้สัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรค พิษสุนัขบ้า โดยมีรอยขีดข่วนแต่ไม่มีเลือดออก จำนวน 6 คน สัมผัสโดยการให้อาหารและเลี้ยงดู  จำนวน 22 คน การได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ครบ 3 เข็มภายใน 7 วัน จำนวน 4 คน ได้รับวัคซีนป้องกันครบ 3 เข็มแต่เกิน 7 วัน จำนวน 24 คน 3) ผลการทบทวนแนวทางการรักษา ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า พบปัญหาดังนี้ (1) กระบวนการรักษา และการสั่งยาไม่เป็นไปตามแนวทาง การรักษาเดียวกัน (2) ขั้นตอนการรักษามากเกินไป ทำให้เกิดความสับสน (3) แนวทางยังไม่ชัดเจน  ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเวลาและล้าช้าในการรักษา

สรุป : ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทบทวนแนวทางการรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่่งที่จะให้บุคคลากรได้ใช้อย่างถูกต้องและมีประโยชน์แก่ผู้มารับบริการ       ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

คำสำคัญ : แนวทางการรักษา, โรคพิษสุนัขบ้า

References

สุเมธ องค์วรรณดี และคณะ. ต้นทุน-ผลได้ของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยเน้นการควบคุมในสุนัข. วารสารวิชาการสาธารณสุข;12(6), 937-948.

วีระ เทพสุเมธานนท์ และ วิศิษฏ์ สิตปรีชา.การวิเคราะห์ผลการวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ที่ส่งมาจากกรุงเทพฯและภาคกลางของประเทศไทปีพ.ศ. 2544-2547. J Med Assoc Thai ; 2548. 88(2), 282-286.

สุรชัย ศิลาวรรณ และคณะ. ต้นทุนประสิทธิผลโครงการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในคนเปรียบเทียบระหว่างการให้วัคซีนโดยวิธีการป้องกันโรคล่วงหน้าและการให้วัคซีนป้องกันหลังถูกสัตว์กัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2558 ; URL:http://www.kmddc.go.th/researches/download/files/4126

อภิรมย์ พวงหัตถ์ และวิรงรอง หุ่นสุวรรณ.สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย. J Med AssocThai ; 2548. 88(9),1319-1322.

โรงพยาบาลมหาสารคาม.รายงานผู้สัมผัสเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าและการรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2555-(เอกสารอัดสำเนา) ; 2558.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอป่าพยอม จังหวัดพัทลุง. สรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2550. รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี ; 2551.

นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์ และจอมสุดาอินทรกุล. การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ในภาคกลาง.วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่10;2554: 3,472-501

สิริกาญน์ พิมลลิขิต และคณะ. "การศึกษาอุบัติการณแ์ ละการรักษาผปู้ ่วยที่ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด สถาบันบำราศนราดูร ปี2546-2547." สำนักระบาดวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2ธันวาคม 2558 ; URL:http://epid.moph.go.th/weekly/w_2549/menu_wesr49.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15