การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิจพร สว่างไธสง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน

รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ โดยศึกษาที่โรงพยาบาล ยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557 โดย ใช้รูปแบบเชิงผลลัพธ์ร่วมกับทฤษฎีระบบมาบูรณาการเป็นโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย จิตเวชที่บ้าน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต บันทึกภาคสนาม สนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม

ผลการวิจัย : พบว่า มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านขึ้นอย่างชัดเจน โดยในระดับหน่วยงาน โดยปรับโครงสร้างให้มีแผนกสุขภาพจิตและจิตเวชขึ้น โดยให้บริการด้าน สุขภาพจิตและจิตเวชอย่างจริงจัง และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างพยาบาลในงานสุขภาพจิต และจิตเวชกับหน่วยงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านสร้าง ขึ้นมาจากข้อตกลงของครอบครัวและชุมชน โดยมีพยาบาลเป็นผู้สนับสนุน ทั้งนี้ในระหว่าง กระบวนการพัฒนามีพยาบาลวิชาชีพ 12 คน ที่ได้พัฒนาสมรรถนะการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และประเมินว่า โครงการนี้ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและญาติในชุมชน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ และมีพยาบาลวิชาชีพทุกคนต่างเห็นว่าโครงการสามารถ ดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในระบบมีความร่วมมือของชุมชน แกนนำชุมชน 7 หมู่บ้าน ในโครงการที่สามารถจัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนรวมทั้งหมด 7 โครงการ มีผู้ป่วย จิตเวชในพื้นที่ได้รับการดูแลที่บ้าน ทั้งหมด 21 คน สามารถดูแลตนเองได้ 18 คน กลับเข้ารักษา ซ้ำในโรงพยาบาล 1 คนไม่ยอมรับการรักษา 1 คน เสียชีวิตด้วยโรคทางกาย 1 คน จึงกล่าวได้ว่า  โครงการที่ประสบความสำเร็จ และเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

คำสำคัญ : การพัฒนา, ระบบบริการที่บ้าน, ผู้ป่วยจิตเวช

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-ด้านสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข ; 2557.

ศิริพร จิรวัฒน์กุลและคณะ. สมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.วารสารวิจัยทางการพยาบาล ;1(1) : 13–18.

Rovinski, C.A., & Zastoski, D.K. Home care : A Technical Manual for the Professional Nurse. Philadelphia : W.B. Saunde ;1989.

Lesseig, D. Z. Home care for psycho problems. American Journal of Nursing ; 1987. 87(10), 1317-20.

Borson, S., Liptzin, B.,Nininger, J., & Rabin, P. Psychiatry and the nursing home. American Journal of Psychiatry ; 1987. 144(11),1412-1418.

Keating, S.B., & Kelman, G.B. Home Health Care Nursing Concepts and Practice. Philadelphia : J.B. Lippincott ; 1988.

Haddad, A.M. Ethical problems in home health care. The Journal of Nursing Administration, ; 1992.24(3), 49-51.

มาริสา ไกรฤกษ์. แนวคิดในการวิจัย ผลลัพธ์ทางสุขภาพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544. 24(1), 23-29.

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. คู่มือการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน.อุบลราชธานี : กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข ; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15