การศึกษาความชุกของการเกิดโรคเยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัส ในโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น.
บทคัดย่อ
โรคเยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัส (Epidemic Keratoconjunctivitis)หรือEKC เป็นภาวะตาอักเสบจากเชื้อไวรัสที่พบบ่อยที่สุด สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงและทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดโรค และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรคกับผลการรักษา
รูปแบบและวิธีการวิจัย : การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study ) โดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย EKC ในแผนกจักษุโรงพยาบาลชุมแพ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2558 จำนวน 408 ราย
ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 231 ราย อายุเฉลี่ย 33.46 ปี ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 31-40 ปี พบจำนวน 122 ราย (ร้อยละ 29.9) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา 145 ราย(ร้อยละ 35.5) และรับจ้าง 143 ราย (ร้อยละ 35.0) พบการระบาดมากที่สุดระหว่าง เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยพบผู้ป่วย 347 ราย (ร้อยละ85.0) พบมากที่สุดใน เดือนกันยายน 141 ราย (ร้อยละ 34.6) และเดือนสิงหาคม 120 ราย (ร้อยละ 29.4) ตามลำดับ ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่พบปัจจัยเสี่ยงมี 288ราย (ร้อยละ 70.6) ผู้ป่วยกลุ่มที่พบปัจจัยเสี่ยง 120 ราย (ร้อยละ 29.4)โดยปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็นกลุ่มฝุ่น ดิน หิน ทราย เศษเหล็ก แมลง 60 ราย (ร้อยละ 50.0) น้ำนา โคลน น้ำสกปรก 28ราย (ร้อยละ 23.3) พืช กิ่งไม้ ใบหญ้า 24 ราย (ร้อยละ20.0) ขนตาทิ่มตา 8 ราย (ร้อยละ 6.6) จากการติดตามผลการรักษาที่ 1สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมาตามนัด 220 ราย (ร้อยละ 53.9) ผลการรักษาแยกเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่พบปัจจัยเสี่ยง 140 ราย ระดับการมองเห็นดีขึ้นหรือคงที่ 130 ราย (ร้อยละ 92.8) ระดับการมองเห็นแย่ลง 10 ราย (ร้อยละ 7.1) ในกลุ่มผู้ป่วยที่พบปัจจัยเสี่ยง 80 ราย ระดับการมองเห็นดีขึ้นหรือคงที่ 66 ราย (ร้อยละ 82.5) ระดับการมองเห็นแย่ลง 14 ราย (ร้อยละ17.5) และพบว่าปัจจัยเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับระดับการมองเห็นหลังรับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : พบผู้ป่วย EKC มากที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยพบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายและส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในวัยทำงาน กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่พบปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วยจะมีผลการรักษาที่ดีกว่ากลุ่มที่พบปัจจัยเสี่ยงโดยดูจากระดับการมองเห็นหลังรับการรักษา และปัจจัยเสี่ยงที่พบมักมีความเกี่ยวข้องกับอาชีพของผู้ป่วย
คำสำคัญ : เยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัส , ปัจจัยเสี่ยง
References
Ford E, Nelson KE, Warren D: Epidemiology of epidemic keratoconjunctivitis. Epidemiol Rev 1987; 9: 244–61
Birthe Meyer-Rüsenberg, Ulrike Loderstädt, Gisbert Richard, Paul-Michael Kaulfers, Caroline Gesser . Epidemic Keratoconjunctivitis: The Current Situation and Recommendations for Prevention and Treatment. Dtsch Arztebl Int 2011; 108(27): 475–80
Darougar S, Grey RH, Thaker U, McSwiggan DA. Clinical and epidemiological features of adenovirus keratoconjunctivitis in London. Br J Ophthalmol. 1983 Jan;67(1):1-7.
Sundmacher R, Hillenkamp J, Reinhard T: Prospects for therapy and prevention of adenovirus keratoconjunctivitis. Ophthalmologe 2001; 98: 991–1007.
Pellitteri, 0. J., and Fried, J. J. Epidemic Keratoconjunctivitis, Report of a Small Office Outbreak. Am. J. Ophth. 33:1596, 1950.
Viney KA, Kehoe PJ, Doyle B, et al. An outbreak of epidemic keratoconjunctivitis in a regional ophthalmology clinic in New South Wales. Epidemiol Infect 2008;136:1197-1206.
Thygeson, P. The Epidemiology of Keratoconjunctivitis.Tr. Am. Ophth. Soc. 46:366, 1948.
Annual Report of the Work of the Infectious Disease Hospitals and Their Associated Laboratory Services, 1967. Scotland,West Region Hospital Board, p. 18.
ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยาฯ และกลุ่มสอบสวนทางระบาดวิทยาฯ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปีพ.ศ.2557 ค้นจาก www.boe.moph.go.th
Editorial: Adenovirus Keratoconjunctivitis. British Journal of Ophthalmology,1977,61,73-75
Richmond S, Burman R, Crosdale E, Cropper L, Longson D, Enoch BE, Dodd CL. A large outbreak of keratoconjunctivitis due to adenovirus type 8.J Hyg (Lond). 1984 Oct;93(2):285-91.
Adenoviral keratoconjunctivitis: an update. Gonzalez-Lopez LL, Morcillo-Laiz R, Munoz-negrete FJ. Arch Soc Esp Oftalmol, 2013 Mar;88(3):108-15.
Laibson PR, Dhiri S, Oconer J, Ortolan G. Corneal infiltrates in epidemic keratoconjunctivitis, response to double-blind corticosteroid therapy. Arch Ophthalmol. 1970;84:36–40.
Bohringer D, Birnbaum F, Reinhard T: Cyclosporin A eyedrops for keratitis nummularis after adenovirus keratoconjunctivitis. Ophthalmologe 2008; 105: 592–4 .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม