การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กฤษฏ์ โพธิ์ศรี
  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์
  • กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์

บทคัดย่อ

 บทนำ : ประเทศไทยมีแนวโน้มผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสตรี เด็กและเยาวชน เกิดผล เสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจของตัวผู้ดื่มและเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาต่างๆ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15-65 ปี ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์ กระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา : ระยะที่ 1 พบว่า เพศชายมีความชุกของนักดื่มปัจจุบันสูงกว่าเพศหญิง โอกาสการดื่มสุรา มากที่สุด คือ งานปีใหม่ รองลงมางานสงกรานต์ และงานที่กลุ่มตัวอย่างดื่มน้อยที่สุดคือบุญประเพณี ในส่วนนโยบายควบคุมเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีการดื่มในวัด ในสถานศึกษาแต่เป็นอัตราที่ต่ำ อีกทั้งมีการขายในสถานที่ห้ามขาย ขายสุราในช่วง เวลาที่ห้ามขาย และขายให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ระยะที่ 2 การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีกิจกรรมการรณรงค์ในการ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหลายพื้นที่ในทุกอำเภอ ในรูปแบบกิจกรรมงานบุญ งานศพปลอดเหล้า และมีผลงานการบังคับใช้กฎหมายในผู้กระทำความผิดมากขึ้น

สรุป : การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการ วางแผนแบบมีส่วนร่วมของแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ทำให้การการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานร่วมกันขององค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกิดการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : การพัฒนา, ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, แผนยุทธศาสตร์

References

ทักษพล ธรรมรังสี และคณะ. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด

สุรศักดิ์ ไชยสงค์ และคณะ. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด;2556

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. [ม.ป.ป.] ผลกระทบเนื่องมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ [ออนไลน]. ได้จาก: http://www.dmh.moph.go.th/news/view.asp?id

อดิศวร์ หลายชูไทย และคณะ. สุราในสังคมไทยผลการศึกษาโครงการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อหามาตรการทางเลือกป้องกันแก้ไข. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยยาเสพติดสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข;2545

ศิรินทิพย์ มีสุขอำไพรัสมี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มสุราแช่ผลไม้ของสตรีวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ,กรุงเทพฯ ; 2545.

ราชาวดี เอี่ยมศิลป์. ภาพยนตร์โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง,กรุงเทพฯ;2550.

เลิศ ดาวสุวรรณ . มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคกรุงเทพฯ ; 2553

นิชนันท์ คำล้าน.การใช้กลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนทางความคิดและพฤติกรรมในผู้ติดสุรา.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น; 2547.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ.การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

ธีรพงษ แก้วหาวงษ์. กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง. กรงเทพฯ: ศูนย์ฝึกอบรม กระทรวงสาธารณสุข ; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15